ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตในความปรกติใหม่ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตในความปรกติใหม่ของนิสิตนักศึกษา และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในความปรกติใหม่ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่อมือที่ใช้คือ แบบทดสอบวัดความรู้ และแบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมวิเคราะข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอ้างอิงคือการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในกรุงเทพมหานคร มีการดำเนินชีวิตในความปรกติใหม่ ด้านความรู้อยู่ในระดับดี (= 8.04) ด้านทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย (
= 3.91) ด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง (
= 3.84) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติกับพฤติกรรมการดําเนินชีวิตในความปรกติใหม่ของนิสิตนักศึกษาพบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการดําเนินชีวิตในความปรกติใหม่ในระดับตํ่ามาก (r = 0.18) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01 และทัศนคติมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในความปรกติใหม่ในระดับสูง (r = 0.68) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. เข้าถึงเมื่อ (10 กันยายน 2565). เข้าถึงได้จาก (http://www.info.mua.go.th/info)
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). Covid-19 and Mental Health. เข้าถึงเมื่อ (10 มิถุนายน 2565). เข้าถึงได้จาก (https://www.dmh.go.th/covid19/)
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2564). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤติโควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 หน้า 317-327
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 33-47
ธีระ วรธนารัตน์. (2563). โคโรน่าไวรัส 2019 (covid-19): ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง?. เข้าถึงเมื่อ (10 มิถุนายน 2565). เข้าถึงได้จาก (https://www.isranews.org/isranews-article/85871-covid.html)
ดวงพร ผาสุวรรณ, พรพิมล อินกอง, ภรเจริญ แสนเสนยา, โศรยา เหล่าจันทร์ และสุวลักษณ์ พิมสน. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่อง COVID-19 ทัศนคติในการปรับตัว กับพฤติกรรมวิถีชีวิตแบบใหม่เพื่อป้องกันติดเชื้อ COVID-19 ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 8 - 9 กรกฎาคม 2564 หน้า 1182-1191
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 15 ฉบับที่ 37 หน้า 179-195
บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 หน้า 1-12
บดินทร์ ชาตะเวที. (2563). พฤติกรรมกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). เข้าถึงเมื่อ (15 พฤศิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก (http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258)
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). แนวคิดการจําแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 หน้า 13-25
พระธวัชชัย ฐิตสีโล ดอนเหลือม. (2558). ประเภทของความรู้. เข้าถึงเมื่อ (9 พฤศิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก (https://sites.google.com/site/thwachchay14/prapheth-khxng-khwam-ru)
พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์
เพชราวดี จงประดับเกียรติ. (2561). เทคนิคการออกข้อสอบแบบเขียนตอบประเภทความเรียง. กรุงเทพมหานคร : สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ภาณุ อดกลั้น, สกาวเดือน มงคลสุคนธรัก, อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล และณัฏฐนันท์ มุสิกบุญเลิศ. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 หน้า 98-109
มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). “New Normal” ฉบับราชบัณฑิตยสภา. เข้าถึงเมื่อ (15 พฤศิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก (https://news.thaipbs.or.th/content/292126)
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์
รุจาพงศ์ สุขบท. (2563). โควิด-19 กับพฤติกรรม “New Normal” มาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ในวันนี้และตลอดไป. เข้าถึงเมื่อ (15 พฤศิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก (www.wearecp.com/new-normal-190563/)
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติในการวิจัยที่เหมาะสมกับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันธรรมนิติ. (2563). ปรับตัวอย่างไรให้ชีวิตและธุรกิจอยู่รอดในยุค New Normal. เข้าถึงเมื่อ (9 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก (www.Dhamniti.co.th)
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสถียร เชื้อลี, รับขวัญ เชื้อลี และคณัฐวุฒิ หลวงเทพ. (2565). ความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ของนักศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันโรคที่ 10. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 หน้า 49-62
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). ประเภทของความรู้. เข้าถึงเมื่อ (15 ตุลาคม 2563). เข้าถึงได้จาก (https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/)
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2563). ทฤษฎีการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุรพล อิสรไกรศีล. (2563). ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติศัพท์ New Normal = ความปกติใหม่. เข้าถึงเมื่อ (9 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก (https://voicetv.co.th/read/gEEgnvbnX)
อรุณีย์ โรจนไพบูลย์. (2561). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. บึงกาฬ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ
Best, J. W. and Kahn, J. V. (2005). Research in Education. (10th ed.). Boston : Pearson Education Company
Bloom, Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., and Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York : David McKay Co Inc
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York : Harper and Row
Fraenkel, J. R. and Wallen, N. E. (2012). How to Design and Evaluate Research in Education. (8th ed.). New York : McGraw-Hill Companies, Inc
Hussein, N. R., Naqid, I. A., Jacksi, K., and Abdi, B. A. (2020). Assessment of Knowledge, Attitudes, and Practices Toward COVID-19 Virus Among University Students in Kurdistan Region, Iraq. Journal of Family Medicine and Primary Care. Vol. 9 No. 9 pp. 4809-4814. DOI: 10.4103/jfmpc.jfmpc_870_20
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. Vol. 30 Issue 3 pp. 607-610. DOI: 10.1177/001316447003000308
Loudon, D. L. and Della Bitta, A. J. (1993). Consumer Behavior. 4th ed. New York : McGraw-Hill
Payne, D. A. (2003). Applied Educational Assessment. 2nd ed. Canada : Nelson Thomson Learning
Pintrich, P. (2002). The Role of Metacognition Knowledge in Learning, Teaching and Assessing. Theory into Practice. Vol. 41 No. 4 pp. 219-226. DOI: 10.1207/s15430421tip4104_3
Turner, R. C. and Carlson, L. (2003). Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items. International Journal of Testing. Vol. 3 Issue 2 pp. 163-171. DOI: 10.1207/S15327574IJT0302_5