คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์สายการบินที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการและระดับภาพลักษณ์สายการบินของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์สายการบินที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันกับความจงรักภักดีของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าในปี พ.ศ. 2567 จำนวน 151 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้คือ สถิติการทดสอบค่าที (T-Test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA: F-Test) เพื่อใช้ทดสอบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จากนั้นทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์สายการบินและความจงรักภักดี โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Correlation Coefficient) แล้วจึงทำการทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานในแบบจำลองด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์สายการบินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์สายการบินส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่าหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่แตกต่างกันมีความจงรักภักดีแตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กุลวรรณ อาจกล้า. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าสายการบินต้นทุนตํ่า ณ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 หน้า 109-116
จุฑารัตน์ เหล่าพราหมณ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจและความจงรักภักดีของ ผู้โดยสารสายการบินต้นทุนตํ่า ในประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 หน้า 124-154
ณิศรา ระวียัน. (2561). อิทธิพลของภาพลักษณ์และคุณภาพการให้บริการของสายการบินไทยแอร์เอเชียต่อพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสาร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 หน้า 87-98
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิไลพร ลอยสงวน และวนิชย์ ไชยแสง. (2566). ปัจจัยที่ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่า ในเขตจังหวัดอุดรธานี ช่วงสถานการณ์โควิด-19. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 หน้า 30-45
มุกดา อัยวรรณ และชาตยา นิลพลับ. (2564). ภาพลักษณ์องค์กรและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี กรณีศึกษาผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าในประเทศไทย. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 34-50
ลลิดา พลสุวรรณ และนิศากร สมสุข. (2559). การพัฒนาคุณภาพการบริการสำหรับสายการบินต้นทุนตํ่า. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 หน้า 147-163
วสุนันท์ ปุกเสาร์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานกับผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศุภิสรา โตศิริวัฒนานนท์. (2559). อิทธิพลของคุณภาพบริการและการรับรู้คุณค่าต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าต่อสายการบินภายในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2559). ธุรกิจสายการบินต้นทุนตํ่า สมรภูมิในน่านฟ้าไทย. เข้าถึงเมื่อ (25 เมษายน 2567). เข้าถึงได้จาก (https://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=11696 )
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหรรมการบิน
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2563). ประกาศ กพท. เรื่อง แนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสารสำหรับเส้นทางการบินระหว่างประเทศในระหว่างสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงเมื่อ (25 เมษายน 2567). เข้าถึงได้จาก (https://www.caat.or.th/th/archives/52172 )
อัมรา อร่ามเรือง. (2555). สายการบิน Low Cost of Thailand. เข้าถึงเมื่อ (25 เมษายน 2567). เข้าถึงได้จาก (http://blogger-airlowcost.blogspot.com/2012/06/air-asia-everyone-can-fly.html )
อินทิรา จันทรัฐ. (2557). ความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อคุณภาพการบริการสายการบินต้นทุนตํ่าเที่ยวบินภายในประเทศ. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Biswakarma, G. and Gnawali, A. (2021). Service Quality of Domestic Airlines in the Face of COVID-19 in Nepal. International Journal of Scientific Research and Management. Vol. 9 No. 2 pp. 2061-2171. DOI: 10.18535/ijsrm/v9i2.em04
Chen, Y., Tseng, M., and Lin, R. (2011). Evaluation of Customers’ Perceptions on In-Flight Service Quality. African Journal of Business Management. Vol. 5 No. 7 pp. 2854-2864
Drennan, J., Bianchi, C., Cacho-Elizondo, S., Louriero, S., Guibert, N., and Proud, W. (2015). Examining the Role of Wine Brand Love on Brand Loyalty: A Multi-Country Comparison. International Journal of Hospitality Management. Vol. 49 pp. 47-55. DOI: 10.1016/j.ijhm.2015.04.012
Firend, A. R. and Masoumeh, F. A. (2014). Impact of Service Quality, Trust and Perceived Value on Customer Loyalty in Malaysia Services Industries. Procedia - Social and Behavioral Sciences. Vol. 164 pp. 298-304. DOI: 10.1016/j.sbspro.2014.11.080
Gronroos, C. (1984). A Service Quality Model and Its Marketing Implications. European Journal of Marketing. Vol. 18 pp. 36-44
Hutchinson, J., Lai, F., and Wang, Y. (2009). Understanding the Relationships of Quality Value, Equity, Satisfaction and Behavioral Intentions Among Golf Travelers. Tourism Management. Vol. 30 Issue 2 pp. 298-308. DOI: 10.1016/j.tourman.2008.07.010
Jacoby, J. and Chestnut, R.W. (1978). Brand Loyalty Measurement and Management. New York: John Wiley and Sons
Kotler, P. and Armstrong, G. (1997). Principle of Marketing. 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 9th ed. Prentice Hall: Upper Saddle River
Kotler, P. and Keller, K. L. (2016). Marketing Management. Boston: Pearson
Krejcie, R. and Morgan, D. (1970). Determining Sample Sizes for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. Vol. 30, pp. 607-610
Lovelock, C. H. and Wirtz, J. (2010). Services Marketing: People, Technology, Strategy. 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc
May, T. and Zins, A. H. (2012). Extensions on the Conceptualization of Customer Perceived Value: Insights from the Airline Industry. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research. Vol. 6 No. 4 pp. 356-376. DOI: 10.1108/17506181211265086
O'Connell, J. F. and Williams, G. (2005). Passengers' Perceptions of LowCost Airlines and Full-Service Carriers: A Case Study Involving Ryanair, Aer Lingus, Air Asia and Malaysia Airlines. Journal of Air Transport Management. Vol. 11 Issue 4 pp. 259-272. DOI: 10.1016/j.jairtraman.2005.01.007
Parasuraman, A., Zeithaml, V., and Berry, L. (1988). SER-VQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing. Vol. 64 pp. 12-40
Park, J., Robertson, R. and Wu, C. (2006). Modelling the Impact of Airline Service Quality and Marketing Variables on Passengers’ Future Behavioral Intentions. Transportation Planning and Technology. Vol. 29 Issue 5 pp. 359-381. DOI: 10.1080/03081060600917686
Susanto, A., Lapian, J., and Tumbuan, A. (2016). The Influence of Cultural, Social, Personal and Psychological on Consumer Purchase Decision Study on Tonasa Cement Product in Manado City. Journal Berkala Ilmiah Efisiensi. Vol. 16 No. 1 pp. 198-206
Susilo, A., Abadi, M. K. R., Sahroni, A., and Afif, M. (2022). The Influence of Service Quality Towards Customer Satisfaction on Garuda Airline of Yogyakarta International Airport on Pandemic Covid-19. AL Tijarah. Vol. 8 No. 1 pp. 1-14
Zeithaml, V. A. (1988). Consumer Perceptions of Price, Quality, and Value: A Means-end Model and Synthesis of Evidence. Journal of Marketing. Vol. 52 Issue 3 pp. 2-22. DOI: 10.1177/002224298805200302
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., and Berry, L.L. (1996). The Behavioral Consequences of Service Quality. Journal of Marketing. Vol. 60 Issue 2 pp. 31-46. DOI: 10.1177/002224299606000203