การสร้างความไว้เนื้อเชื้อใจเพื่อสร้างโอกาสในการสมานฉันท์ในสังคมไทย

Main Article Content

สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์  2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการสมานฉันท์ในสังคมไทย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างทุนทางสังคมและการสมานฉันท์ในสังคมไทย  การวิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงคุณภาพนำการเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มเป็น และการวิจัยเอกสาร ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์ จัดเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวไทย 2,400 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาส่วนการประมาณค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุในแบบจำลองใช้สถิติอนุมานแบบมีพารามิเตอร์เทคนิคกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการสมานฉันท์ในสังคมไทย(Recon)  คือ ทุนทางสังคม(Scap) หรือภาวะความไว้เชื่อเนื้อเชื่อใจในสังคมไทยโดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ เท่ากับ 0.260  ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางลบต่อการสมานฉันท์ในสังคมไทย  เรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ ความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจประชาธิปไตยในสังคมไทย  และทุนมนุษย์ถูกทำลาย โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ -0.378 , -0.137, –0.122 ,- 0.096 และ -0.091 ตามลำดับ   ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางลบต่อทุนทางสังคมหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันในสังคมไทย  เรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ การคอรัปชั่นในสังคมไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด การทำลายทุนสถาบัน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางการเมือง การทำลายทุนวัฒนธรรม และประชาธิปไตยแบบไทย โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ -0.490 , -0.338 ,  -0.333,  -0.300 ,- 0.235, - 0.091, -0.087, และ-0.060  ตามลำดับ


ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะต่อการสร้างทุนทางสังคมหรือความไว้เนื้อเชื่อใจและการโอกาสการสมานฉันท์ในสังคมไทย มีจำนวน  2  ประเด็น คือ  1) ฝ่ายการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบเลือกตั้งสากลต้องยอมรับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบไทย คือ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ต้องรับฟังความคิดเหตุผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง  2)ฝ่ายการเมืองประชาธิปไตยอนุรักษ์นิยมแบบไทย ต้องเร่งออกแบบประเทศผ่านการร่างรัฐธรรมนูญและการออกแบบระบบการเลือกตั้งให้โปร่งใสเหมาะสมเป็นที่ยอมรับ  ต้องลดการแทรกแซงกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจปกครองประเทศ หรือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ควรดึงหรืออ้างนำเอาสถาบันเบื้องสูงมาเกี่ยวกับการเมือง  และ 3)ฝ่ายการเมืองทั้งสองฝ่ายควรร่วมมือกันสร้างสรรค์เริ่มปฏิรูปประเทศไทยเสียใหม่ กล่าวคือ 1.โดยเริ่มจากให้สังคมไทยหันกลับมาให้ความสำคัญกับระบบคุณค่าและบรรทัดฐานในสังคมไทย กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับกฎหมาย กฎศีลธรรม และประเพณีวัฒนธรรม 2.การให้อภัยเริ่มกระบวนการการปรองดอง 3.การนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง 4.การเยียวยาผู้สูญเสียด้วยเหตุทางการเมือง 5.ขจัดปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทย 6.ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 7.ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อคนจากจน 8.การลดปัญหาคอรัปชั้นในสังคมไทยให้ลดลง และ9.การปฏิรูประบบกฎหมายหรือการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม กล่าวคือ ชำระล้างกฎหมายที่ล้าสมัย การบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ และการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย  แต่หากไม่ดำเนินการในข้างต้นสังคมไทยจะเกิดการแตกแยกโอกาสการสมานฉันท์ลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มคนเสื้อสีส้ม (นามสมมติ). (2555). สัมภาษณ์. 5, 12, 9, 26 สิงหาคม 2555.

กลุ่มคนเสื้อหลากสี (นามสมมติ). (2562). สนทนากลุ่ม. 8 มิถุนายน, 20 กรกฎาคม 2562.

นิธิเอียว ศรีวงศ์ . (2554). เหตุแห่งความขัดแย้งในเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2555, จาก

http://www.youtube.com/watch?v=-96njmvhyFc&feature=related.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (27 มีนาคม 2553). ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2555, จาก https://www.thairath.co.th/content/73086

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพ: ม.ป.พ.

สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล . (2558). ผลกระทบจากการบริหารการพัฒนาตามแนวทางทุนนิยมผูกขาดต่อการทำลายระบบคุณค่าในสังคมไทย. วารสารวิทยาการวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2), 84-105.

เอกชัย ศรีวิราช. (2552). ความขัดแย้งในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.youtube.com/watch?v=0csNIePcgEs.

Fukuyama F. (1999). Social Capital. Retrieved 23 November 2003, from www.imf.org/external/pubs/ft/seminar/1999/reforms/fukuyama.html#

Putnam, D.R. (1993). Making Democracy Work Civic: Traditions in Modern Italy.

NJ: Princeton University Press.

Tashakkori, A. and C. Teddlie (Eds.). (1998). Mixed Methodology. Combining

Qualitative and Quantitative Approaches. Applied Social Research Methods

Series. Thousand Oaks: SAGE Publications.

UCLA.(2006). SPSS FAQ :What does Cronbach's alpha mean . Retrieved 6 December 2006, from http://www.ats.ucla.edu/STAT/SPSS/faq/alpha.html.