แนวทางการพัฒนาเพื่อบรรลุประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ธิดารัตน์ ถึงสุข
พลกฤต แสงอาวุธ
พูลฉัตร วิชัยดิษฐ

บทคัดย่อ

              การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาเพื่อบรรลุประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการขยะ  ศึกษาระดับประสิทธิผลในการจัดการขยะ เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการขยะ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาเพื่อบรรลุประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 394 ครัวเรือนๆ ละ 1 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือ    ที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ


              ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอย   โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการลงทุน รองลงมาคือด้านกฎหมายและด้านการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ผลการเปรียบเทียบพบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน ส่วน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาการอยู่อาศัย ประเภทที่อยู่อาศัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลให้ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


              ผลการศึกษาจากแบบสัมภาษณ์พบว่า ควรมีการนำใช้หลัก 3R มาใช้ สร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะภายในครัวเรือน สร้างค่านิยมในการใช้ถุงผ้า สร้างแกนนำชุมชนในการจัดการขยะ ร่วมกับเอกชนสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ให้กฎหมายสนับสนุนเรื่องขยะแลกเงิน การลดภาษีภาชนะที่ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมให้มีราคาถูกลง ภาครัฐควรส่งเสริมให้ออกกฎหมายการรีไซเคิลขยะ การนำของเก่าที่ไม่ใช่แล้วแลกของใหม่โดยจ่ายส่วนต่าง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ มีการจัดหาวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2560). ทิศทางการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2560/hi2560-057.pdf

นันทิยา หินนนท์. (2558). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลบ่อขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญมี จี้ฟู. (2553). ประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ปิยภัทร สายนรา. (2552). การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน : กรณีศึกษาชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว1 เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปภัศศร สะขัดออย. (2553). แนวทางพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนบ้านห้วยน้ำนัก หมูที่ 4 ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พิศิพร ทัศนา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14. (2560). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ตอนบน ปี 2560 (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช). สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

สำนักนายกรัฐมนตรีแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

หทัยพรรณ สังข์ชู. (2557). ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.