การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ผกามาส ปาลคะเชนทร์
พูลฉัตร วิชัยดิษฐ
วาสนา จาตุรัตน์

บทคัดย่อ

              การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านนาเดิม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านนาเดิม จำนวน 393 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ


            ผลการศึกษาจากแบบสอบถาม พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการดำเนินการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านร่วมรับผลประโยชน์ รองลงมาคือด้านการตัดสินใจ และด้านการร่วมมือในการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด  ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาการอยู่อาศัย เขตบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ 0.05


            ผลการศึกษาจากแบบสัมภาษณ์ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการลงพื้นที่จัดประชุมประชาคมร่วมกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมเสนอปัญหา ค้นหาสาเหตุ และร่วมวางแผน ในการจัดการของขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนมีการฝึกอบรมให้คำแนะนำ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดกิจกรรม หรือการให้ข้อมูลข่าวสารโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาเป็นเครื่องมือ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ควรจัดเวทีประชาคมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ สนับสนุนงบประมาณ และควรจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเพื่อให้ประชาชนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

จิรพัฒน์ หงส์ทอง. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงใจ ปินตามูล. (2556). การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ทศพร สืบแสง. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนส่องเหนือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน, สืบค้นเมื่อ 17มกราคม 2560. จาก http://www.stat.bora.dopa.go.th.

ศิริชัย พงษ์วิชัย .(2551). การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสุราษฎร์ธานี. (2557). การจัดการขยะ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560 จาก http://www2.suratthani.go.th/onre/office_informations.html.