แนวทางการสร้างเครือข่ายกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) โครงการกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครนายก 2) คุณลักษณะของกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นและ 3) แนวทางการสร้างเครือข่ายกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครนายก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ที่ศึกษาคือโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครนายก ประจำปีการศึกษา 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเป็นค่าร้อยละและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงการจิตอาสา จำนวน 11 กิจกรรม สามารถส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 92.73 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละมากที่สุดคือ ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือ ด้านการตระหนักรู้ เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 92.73 ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด มีค่าเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 89.09 2) คุณลักษณะของกิจกรรมจิตอาสา มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม รู้จักการเสียสละส่วนตนเพื่อคนส่วนรวม ให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาตนเองในทุกด้าน 3) แนวทางการสร้างเครือข่ายกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมสัมพันธภาพด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นนั้น นักเรียน ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน องค์กรของรัฐ และองค์กรสาธารณะประโยชน์ สามารถดำเนินการสร้างเครือข่ายคือ การชักชวน การประชาสัมพันธ์ การทำเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างพฤติกรรมทางบวก และแนะนำกิจกรรมต่อ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน และระดับสังคม
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชามญชุ์ คุ้มสุข. (2555). การวิเคราะห์บทบาทของเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนในการส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลพรรณ อาภาเวท และเณริศา ชัยศุภมงคลลาภ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับพฤติกรรมจิตอาสาของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วีรพร สีสถาน. (2557). การพัฒนาแบบวัดจิตอาสาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน. (13 ตุลาคม 2559). จิตอาสา“เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์”. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2562, จาก http://www.royaloffice.th/จิตอาสา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7. (30 เมษายน 2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 (ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว). สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.spm7.go.th/web2020/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
Gomez R. and Gunderson M. (2003). Volunteer Activity and the Demands of Work and Family. Relations industrielles, 58(4), 573-589.
Song X., Ming ZY., Nie L., Zhao YL. and Chua TS. (2016). Volunteerism tendency prediction via harvesting multiple social networks. ACM Transactions on Information Systems, 34(2), 1-26.
Wu L. and Liu H. (2015). On the Exploration of the Educational Function of College Students’ Volunteer Service Activities. Creative Education. 6(20), 2186-2191.