การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม กรณีศึกษา กลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขี ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ณัฐริกา ชัยรัตน์
ธมลวรรณ บุญมา
พิชานันท์ แก่นทอง
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขขี ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขขี ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  และ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขขี ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขขีเกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2547  โดยกลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขขีมีความต้องการที่จะยกระดับการตลาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมทั้งต้องการให้ผลิตภัณฑ์ฝรั่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของฝรั่งในพื้นที่ คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัยโดยการจัดกิจกรรมร่วมกับเกษตรกร นักเรียนโรงเรียนวัดป่าระกำ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมแต่งแต้มจินตนาการโดยการออกแบบระบายสีโลโก้กลุ่ม และให้สมาชิกกลุ่มคัดเลือกผลงานของนักเรียนเพื่อใช้เป็นโลโก้ประจำกลุ่ม จากนั้นได้มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใส่ผงบ๊วยที่ใช้รับประทานคู่กับฝรั่ง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินกิจกรรมการห่อผลฝรั่งที่ถูกหลักอนามัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในชุมชน  ตลอดจนการดำเนินการขยายพื้นที่ปลูกฝรั่งในพื้นที่แปลงสาธิตของโรงเรียนวัดป่าระกำเพื่อประโยชน์แก่นักเรียนและโรงเรียน สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ฝรั่งบ้านบางสุขขี  ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มฝรั่งบ้านบางสุขขีมีการรวมกลุ่มที่เป็นรูปธรรม และการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการปลูกและการดูแลรักษาฝรั่ง รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อยอดหรือการแปรรูปผลิตภัณฑ์ฝรั่ง ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาเกี่ยวกับการปลูกและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ฝรั่งไปสู่เยาวชนรุ่นหลัง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปลื้มใจ สินอากร บัณฑิต ผังนิรันดร์ และอรุณรุ่ง วงศ์กังวาน. (2554). บุพปัจจัยของความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21 (3), 657-666.

สรวงพร กุศลส่ง. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมุกบ้านติ้วเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2559). Knowledge Management ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เรื่อง “กลุ่มเกษตรกรโรงสีข้าวชุมชนตำบลป่าระกำ”. นครศรีธรรมราช: สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2557). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบางหัวเสือจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัยและงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี, 1 (2), 126-151.

อัจฉรา มลิวงค์ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2553). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.