รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ประเวช วะทาแก้ว
ประภาส แก้วเกตุพงษ์

บทคัดย่อ

              บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา    2) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนากับการบริหารการพัฒนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยแบบเจาะลึก จำนวน 18 ท่าน โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาจากการรวบรวมเอกสารและข้อมูลภาคสนามมาแยกตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย หลังจากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการบรรยายตามเนื้อหาในแต่ละประเด็น โดยนำแนวคิดทฤษฎีมายืนยันด้วยการอธิบายความในเชิงพรรณนาวิเคราะห์


             ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนานั้น ผู้นำจะต้องมีหลัก    สัปปุริสธรรม หลักกัลยาณมิตรธรรม หลักพรหมวิหาร และหลักทศพิธราชธรรม คุณลักษณะของผู้นำดังกล่าวนี้มีผลต่อการบริหารและพัฒนาองค์กรในด้านการบริหารงาน ด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป นอกจากนี้รูปแบบของภาวะผู้นำจะต้องกอปรด้วยหลักธรรมที่จะนำพาผู้ใต้บังคับบัญชาไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำจะต้องมีความรักต่อบุคคลอื่นอย่างจริงใจ มีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ตลอดจนมีใจเป็นกลางต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสุดวิสัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัท เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส จำกัด.

พระบัณฑิต ญาณธีโร (สุธีระตฤษณา). (2552). ภาวะผู้นำของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ในการบริการกิจการคณะสงฆ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ม่วงทอง. (2543). พุทธธรรมกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ : ศึกษาเฉพาะกรณีกำนันผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหารุ่งโรจน์ ธมฺมฏฺเมธี (ศิริพันธ์). (2550). การศึกษาวิเคราะห์หลักภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.