นวัตกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา การท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

หทัยภัทร ก้งเส้ง
สุภาพร จันทนพันธ์
ณัฐนิชา ชูเชิด
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของทุนในชุมชนที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของกลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบและแนวทางส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยว บ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


              ผลการวิจัยพบว่า ตำบลดีหลวงมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบต่ำ ลาดเอียงขนานกับทะเลอ่าวไทย พื้นที่ด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นพื้นที่นา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร จากการศึกษาทุนในชุมชน พบว่า นอกจากชุมชนจะมีทุนวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ ทุนวัฒนธรรมเกี่ยวกับหลวงปูทวดแล้ว ชุมชนยังมีทุนที่สำคัญอีก  4 ด้าน  ได้แก่  ทุนด้านมนุษย์  ทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ  ทุนด้านประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา และทุนด้านสถาบันหรือองค์กร ซึ่งเป็นทุนที่มีศักยภาพเอื้อให้เกิดนวัตกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขึ้น สำหรับการบริหารจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของกลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มีการบริหารจัดการในรูปแบบของกลุ่ม เป็นการบริหารจัดการที่อาศัยการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย โดยมีกระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การชี้นำ การประสานงาน และการควบคุม  สำหรับแนวทางการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการปลูกต้นโกสนทั้งสองข้างทางตามเส้นทางการท่องเที่ยว การทำป้ายบอกเส้นทางการท่องเที่ยวตามจุดต่าง ๆ การส่งเสริมให้มีอาสาสมัครมัคคุเทศก์ การส่งเสริมการสร้างช่องทางประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว  และการส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น  ทั้งนี้เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก เกิดสังข์. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชิงกลยุทธ์: กรณีศึกษาตำบลบางใบไม้อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ณัฐพงศ์ ไชยหาญ. (2563). ฝ่ายยานพาหนะกลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 21 มกราคม. 2563.

ดำ คล้ายสีนวล. (2563). ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 22 มกราคม 2563.

ทิพาพันธ์ บัวเผือนน้อย. (2563). นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2563.

บุญศิริ สุวรรณศรี. (2563). ผู้จัดการกลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2563.

แผนธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา บ้านเกิดหลวงปู่ทวด. (ม.ป.ป.). สงขลา : ม.ป.พ.

พระครูใบฎีกาศักรินทร์ สิริภทฺโท. (2563). ที่ปรึกษากลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2563.

วริศรา บุญสมเกียรติ (2555). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช: วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดธาตุน้อย และโบราณสถานวัดโมคลาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุพัตรา คงขำ. (2561). ทุนทางสังคมกับการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านบ่อน้ำซับ หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Veridian E-journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(2), 1727-1743.

สุภัทร บัวหัน. (2563). ประธานกลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเล และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2563.

เสน่ห์ บัวมาก. (2563). ฝ่ายประชาสัมพันธ์กลุ่มการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2563.