การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิชุมชนทางทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่เกาะกลางบางทะลุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ศิริพร เพ็งจันทร์

บทคัดย่อ

            บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิชุมชนทางทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่เกาะกลางบางทะลุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อค้นหาคำถามที่ต้องการหาคำตอบ โดยใช้วิธีเข้าไปอยู่ในกระบวนการเพื่อจะสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น


              ผลการวิจัยพบว่า สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ กรณีเกาะกลางบางทะลุ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ  ร.10  ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนรูปแบบการจัดเวทีประชาคมของหมู่บ้าน 2) การรวมกลุ่มของชาวบ้านในชื่อ “กลุ่มรักษ์เกาะกลางบางทะลุ” เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศไว้โดยมีแนวคิดว่าชุมชนต้องได้ประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบของสิทธิชุมชนที่จะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และ 3) รวมถึงชุมชนเกาะกลางบางทะลุมีความเข้มแข็ง จึงเป็นปัจจัยหนุนเสริมที่สำคัญต่อการสร้างความร่วมมือของชุมชน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมภายในชุมชนอย่างสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกในชุมชนเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์จากพื้นที่พร้อมการดำรงอยู่ของความหลากหลายทางชีวภาพของเกาะกลางบางทะลุ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2558). Universal Periodic Review. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563, จาก http://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/UPR-small.pdf.

กนกวรรณ วงศ์กวี. (2550). ความเคลื่อนไหวของสิทธิชุมชนตามกฎหมายไทย พื้นที่และมุมมอง : เรื่องของไทยถึงสากล. วารสารไทยคดีศึกษา. 4(1): 235-278.

ครอบครัวนักกิจกรรมภาคใต้. (2554). สิทธิชุมชน สิทธิในการจัดการทรัพยากร สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563, จาก http://www.oknation.net/blog.

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนมะขามเตี้ย. (2559). โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนมะขามเตี้ย ภายใต้ โครงการ ม.อ.เพื่อชุมชนเข้มแข็งปีงบประมาณ 2559. รายงานการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2546). สิทธิชุมชนท้องถิ่น จากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน. สืบค้น เมื่อ 17 มีนาคม 2563, จาก : http://SouthernFamilyActivists/2010/05/13/entry-9.

พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และคณะ. (2559). สิทธิชุมชนกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัด การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาบ้านคำไผ่-โนนสง่า จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง. 5 (2), 198-220.

ฟ้าดาว คงนคร. (2555). สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

บุญเลิศ วิชัยดิษฐ์. (2563). ผู้ใหญ่บ้าน. สัมภาษณ์. วันที่ 14 มีนาคม 2563.

รจนา คำดีเกิด. (2554). การศึกษาความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงจังหวัดอุบลราชธานี จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบ้านกุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2553). พลวัตของชุมชมในการจัดการทรัพยากร กระบวนทัศน์และนโยบาย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสน่ห์ จามริก. (2544). มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิอำนาจและการจัดการทรัพยากร.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสน่ห์ วิชัยดิษฐ์. (2563). กลุ่มคนรักษ์เกาะกลางบางทะลุ. สัมภาษณ์. วันที่ 14 มีนาคม 2563.

สุจิตรา บุณยรัตนพันธุ์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย สำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบัณฑิตบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Helberg, Susan L., (1994). A study of teachers' shared decision making staff development needs. Retrieved March 14, 2020, from https://stars.library.ucf.edu/rtd/3444.