กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด

Main Article Content

ชลิต เฉียบพิมาย
เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว
สุเมษย์ หนุกหลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด 2) เพื่อศึกษาจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด และ 3) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารออนไลน์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับคนในชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงของข้อมูลใช้ 2 คือ เทคนิคสามเส้าแบบวิธีการที่แตกต่างและการใช้เทคนิคสามเส้าของผู้ให้ข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราดเกิดจากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการ     มีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินการ การรับผลประโยชน์ และการประเมินผลในการจัดการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยเริ่มจากการประเมินศักยภาพและขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยว และใช้เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยว อีกทั้งยังเชื่อมโยงตลาดการท่องเที่ยวกับชุมชนอื่นๆ เพื่อนำสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการทางการท่องเที่ยวมานำเสนอต่อนักท่องเที่ยว บนพื้นฐานของการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวเป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นในด้านพหุวัฒนธรรมที่สามารถดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างสันติสุข การให้บริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ที่ได้รับการรองรับมาตรฐานจากกรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีโอกาสในการพัฒนามาตรฐานสู่ระดับสากลต่อไป ทั้งนี้ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวยังขาดการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาจากความแออัดและปัญหาการทิ้งขยะลงสู่แม่น้ำลำคลองส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยว และ 3) กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวเกิดจากการประเมินความพร้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนท่องเที่ยวโดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวนั้นเกิดจากการปรับใช้เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยและเกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์จากกรมการท่องเที่ยวเป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จในด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการได้รับรางวัลมากมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. TAT REVIEW, 4(1). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/80249.

จุฑารัตน์ เจือจิ้น. (2555). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 1-16.

จำลอง แสนเสนาะ และ ขวัญศิริ เจริญทรัพย์. (2561). ยุทธศาสตร์การบูรณาการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ของจังหวัดตราด. วารสารเศรษฐศาสตร์ การเมืองบูรพา, 6(2), 121-143.

เฉลิมชัย ปัญญาดี, เทพ พงษ์พานิช และ อดิศร คันธรส. (2549). การพัฒนาการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ณัฐพล ชุมวรฐายี. (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มมุสลิมผู้ผลิตตังเมกรอบบ้านน้ำเชี่ยว ตำบลนํ้าเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎ พระนคร, 5(1), 13-23.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารการท่องเที่ยวไทย นานาชาติ, 13(2), 25-46.

เทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว. (2563). นโยบายการพัฒนาของนายกเทศมนตรี. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.Namchieo.go.th/plan.php.

เมทินี ทะนงกิจ, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ, และ ศยามล เอกะกุลานันต์. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 1-33.

วศศิชา หมดมลทิล. (2562). การท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf.

สัญญา สะสอง, ชุติมันต์ สะสอง และ บุศรา นิยมเวช. (2563). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่หมู่บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 35-46.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.

สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด. (2558). แผนบริหารการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด (พ.ศ.2559-2564) จังหวัดตราด. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก http://trat.mnre.go.th/attachment/iu/download.php.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989).

Butler, R., Hall, C.M. and Jenkins, J. (1998). Tourism and Recreation in Rural Areas. New York: Wiley.

Denzin, N. K. (1978). Sociological Methods: A Sourcebook. New York: McGraw Hill.

Dodds, R., Ali, A., and Galaski, K. (2016). Mobilizing Knowledge: Key elements of success and barriers in community-based tourism. Current Issues in Tourism. doi:10.1080/13683500.2016.1150. (257), 1-27.

Mitchell, R.E. & Reid, D.G. (2001). Community Integration: Island Tourism in Peru. Annals of Tourism Research, 28(1), 113-139.doi: 10.1016/S0160-7383(00)00013-X.

United Nations. (2015). Sustainable Development Goals. New York: United Nations Department of Economic and Social Affairs. Retrieved May 7, 2020, from https://sustainabledevelopment.un.org/partnerships/