สหวิชาชีพชุมชนกับการประกอบสร้างแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวเทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ปริญญา หวันเหล็ม

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่อง สหวิชาชีพชุมชนกับการประกอบสร้างแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใน 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการศึกษาภาคสนามโดยการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทการทำงานของสหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เพื่อกระตุ้นสร้างกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ในการพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว และเพื่อเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในพื้นที่และชุมชนอื่นต่อไป


              ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่า การประกอบสร้างทีมสหวิชาชีพการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเทศบาลตำบลพลายชุมพลนั้น มีจุดตั้งต้นมาจากกลุ่มฌาปณกิจ อีกทั้งประกอบกับในพื้นที่นั้นโดดเด่นเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ เนื่องจากในชุมชนมีโรงเรียนผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง มีการสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สามารถดึงดูดให้กลุ่มประชากรและอาสาสมัครเข้ามาพบปะและสร้างปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา ซึ่งมาจากการจัดกิจกรรมของทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือแม้กระทั่งการประชุมอาสาสมัครสาธารณะสุข (อสม.) ประจำเดือน ที่นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่าย ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวนั้นล้วนเป็นปัจจัยดึงดูดให้สมาชิกในชุมชนเข้ามารวมกลุ่ม นอกจากนี้ประการสำคัญคือ การอาศัยองค์กรทางศาสนาคือ “วัด” อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในการขับเคลื่อนงาน Long-term Care ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีความโดดเด่นจนสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆได้ โดยจุดเริ่มต้นมาจากโครงการ “บิณฑบาตความทุกข์” ร่วมกับบุคลากรในระบบดูแลสุขภาพระยะยาวของ รพ.สต.พลายชุมพล และได้พัฒนามาเป็นส่วนสำคัญในการเป็นภาคีเครือข่ายด้านการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันไปในพื้นที่เทศบาลตำบลพลายชุมพลอันเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแก่ชุมชนอื่นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือแนวทางการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ 5 กลุ่มวัยแบบบูรณาการโดยตำบล LTC เป็น Entry point. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2552). บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจพริ้น 2