การประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

Main Article Content

อภิรดี จิโรภาส
อัศว์ศิริ ลาปีอี

บทคัดย่อ

การประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ภายใต้โครงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 เป็นรายด้าน ประกอบด้วย การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม การประเมินด้านปัจจัยนําเข้า การประเมินด้านกระบวนการ รวมทั้งการประเมินด้านผลผลิต และเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในอนาคตให้มีคุณภาพบรรลุข้อกำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ โดยดำเนินการด้วยรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม


ผลการวิจัยสามารถนำเสนอรายประเด็นได้ ดังนี้


1. กลุ่มตัวแทนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรรัฐประศาสนสตรบัณฑิต มีความคิดเห็นต่อการประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.19) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านผลผลิต รองลงมาคือด้านบริบท และด้านกระบวนการ ขณะที่ด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ


2. กลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้บัณฑิต มีความคิดเห็นต่อการประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.05) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านผลผลิต รองลงมาคือด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้า ขณะที่ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดตามลำดับ


3. กลุ่มตัวแทนจากนิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อการประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.51) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านปัจจัยนำเข้า รองลงมาคือด้านบริบท และด้านผลผลิต ขณะที่ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed

นิคม เจียรจินดา, วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ และ วิรมล เวศสุนทรเทพ. (2561). การประเมินหลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง 2561). วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 295-311.

นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว, ประยูร เทพนวล, เมธี ดิสวัสดิ์ และ นุรซีตา เพอแสละ. (2556). ประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (น.436-446). สงขลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นวลฉวี ประเสริฐสุข, กานดา พู่พุฒ, นงนุช โรจนเลิศ, ลิขิต กาญจนาภรณ์, สมทรัพย์ สุขอนันต์, สุรพล พะยอมแย้ม และ สุรีรัตน์ บุรณวัณณะ. (2551). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขา จิตวิทยาชุมชน (รายงานการวิจัย). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

ธนภัทร มีนา, สุนทรา โตบัว และ วรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2561). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555), 12(27), 24-36.

ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2558). ข้อมูลหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง 2560 (มคอ. 2 ปริญญาตรี). สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562, จาก https://cur.tsu.ac.th/home/program.jsp?curriculumid=10000095

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การประเมินหลักสูตรที่เน้นการตัดสินใจโดยใช้วิธีเชิงระบบโดยใช้รูปแบบ CIPP Model. คู่มือการประเมินหลักสูตรระดับบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

_______ (2554). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal Graduate School, Sil]akorn University, 4(2). สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562, จาก https://he02.tci-thaijo.org /index.php/Veridian-E-Journal/issue/view/1017

_______ (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตรวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(2), 25-40.

รัตนศิริ เข็มราช, ประพาศน์ พฤทธิประภา, ดารณี ภุมวรรณ และ จันทร์พนิต สุระศิลป์. (2558). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Stufflebeam, D.L., et al. 1971. Educational Evaluation and Decision Making. Illinois: Peacock.