ผลกระทบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา: ข้อเสนอสำหรับการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 และนำเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปปฏิบัติโดยทำการรวบรวมข้อมูลจากข่าวออนไลน์ เอกสารทางวิชาการ เอกสารทางราชการ และเอกสารงานวิจัย ผลการวิเคราะห์ พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่แตกต่างกันซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่ ผู้เรียนผู้ปกครองผู้สอนและผู้บริหารสถาบันการศึกษา โดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเตรียมความพร้อมในระบบเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ออนไลน์และสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และควรมีมาตรการป้องกันเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลออนไลน์ไม่ให้ถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมควรเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานทั้งการบรรยายในชั้นเรียนและการบรรยายแบบออนไลน์
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล และณมน จีรังสุวรรณ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้นิยมและทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมแบบประสบการณ์จริง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 54-67.
กมลมาลย์ แจ้งล้อม. (2563). EIC ประเมิน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 ขณะที่ภาครัฐอาจต้องพิจารณามาตรการช่วยเหลือด้านอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน).
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2563). เปิดวิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาคการศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศในวันที่โรคระบาดโควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail /872053
คมชัดลึก. (2563). เปิด 3 โมเดลเรียนออนไลน์ ใช้โซเชียลมีเดียจัดตารางเรียน. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/ 424011
ชัยวัฒน์ บวรวัฒนเศรษฐ์. (2559). ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเสริม ต่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 154-179.
ดนุวศิน เจริญ, พ.ต.ต. (2551). Digital Divide ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก http://mba.nida.ac.th/cec/images/stories/cecpic/ magazine/02/13_digital_03%20case5.pdf
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). อว.ผนึก กสทช.แจกซิมอินเตอร์เน็ตฟรี นักศึกษาเรียนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thansettakij.com /content/ 428804
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 4(1), 652-666.
ธัญญา พัชรวงศ์ศักดา. (2563). ปัญหาการเรียนออนไลน์กับความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.nationtv.tv/main/ content/378777223/
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2561). สมรรถนะและบทบาทผู้สอนออนไลน์: การแสดงตนและสนับสนุนผู้เรียน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 244-256.
พชร ลิ่มรัตนมงคล และ จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. รังสิตสารสนเทศ, 19(2), 54-63.
พนิดา หนูทวี. (2560). ความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนของ นักศึกษาและอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(24), 32-42.
วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์. (2562). การวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการของห้องสมุดประชาชน.วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 6(2), 97-113.
ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University. (Humanities, Social Sciences and arts),10(2), 1856-1867.
สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 250-260.
สุมนา สุขพันธ์. (2561). การจัดการเทคนิคการสอนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์โดย Google Classroom สู่ไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(2), 151-162.
สันติ งามเสริฐ. (2563). การบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยางมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารสหศาสตร์, 20(1), 2-13.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Barnard, C. I. (1938). The Functions of the Executive. Cambridge. MA: Harvard University Press.
Gilbert, B. (2015). Online Learning Revealing the Benefits and Challenges. New York: St. John Fisher College.
Sadeghi, M. (2019). A Shift from Classroom to Distance Learning: Advantages and Limitations. International Journal of Research in English Education, 4(1), 80-88.