รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสะท้อนคุณค่า แห่งแรงบันดาลใจ จากการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี
ไพโรจน์ บุตรชีวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจของนักศึกษา จากการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจฯ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการทั่วไป ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 403 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986  สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ 


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจฯ ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตร  กิจกรรมหลักของหลักสูตร  คุณลักษณะอาจารย์บันดาลใจ  และคุณค่าของหลักสูตร  ซึ่งปัจจัยแต่ละตัวส่งผลต่อการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจของนักศึกษาจากการบริหารหลักสูตรฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไข่มุกด์ วิกรัยศักดา และ เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2562). ความสำคัญของประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจบริการ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดในโลกอนาคต. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(2), 537-554.

ไข่มุกด์ วิกรัยศักดา และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). แนวปฏิบัติที่ดีสู่การบริการเชิงสร้างสรรค์ ของโรงแรมระดับ 5 ดาว กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 131-150.

คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: เค.พี.จันทรเกษม.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสาร ราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 4(2), 71-102.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2549). กลยุทธ์การบริหารประสบการณ์ลูกค้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ยูเรก้า.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ณิชชา โชคพิทักษ์กลุ. (2557). การวัดคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ปิยชาติ อิสรภักดี. (2561). Branding 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

พีรพงศ์ แท่นวิทยานนท์, เกศรา สุกเพชร และ โชคชัย สุเวชวัฒนกุล. (2562). การบริหารประสบการณ์ลูกค้า คุณค่า และความพึงพอใจลูกค้าในธุรกิจท่องเที่ยวต่างประเทศ: ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 107-122

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2563). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563, จาก https://manage.pnru.ac.th/uploadfiles/uploadfile/12/2e1cd848a99031a2cb416a8d2e9cf60e.pdf

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลูกขวัญ อินทร์คล้าย, ผ่องลักษณ์ จิตต์การุญ และ วิราพร พงศ์อาจารย์. (2560). แนวทางการพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558. ใน การประชุมสัมมนาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น. 305-316). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วิทยา จารุพงศ์โสภณ. (2556). กลยุทธ์การบริหารแบรนด์. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.

วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภมาส อังศุโชติ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงการพิมพ์.

เสริมพงษ์ พรมลี. (2559). กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่พึงจะเป็น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 156-164.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2563). รายงานการคงอยู่ของนักศึกษา ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563, จาก http://etcserv.pnru.ac.th/Offi/acade/statisticjeab/62/month/11/2.pdf

หัสพร ทองแดง, ยุทธนา ไชยจูกุล, วิชุดา กิจธรธรรม และ พัชนี เชยจรรยา. (2561). กระบวนการสร้างและการสื่อสารแบรนด์ภายในองค์กรกับพฤติกรรมการสนับสนุนแบรนด์ของพนักงานองค์กรเอกชนรุกตลาดอาเซียน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 274-290.

อรพรรณ คงมาลัย และ อัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). เทคนิคการวิจัยด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Aikaterinin M., et.al. (2018). The Impact of brand authenticity on building brand love: An investigation of impression in memory and Lifestyle-congruence. International Journal of Hospitality Management, 8(8), 38-47.

Imbriale, R. (2018). Motivational Marketing: How to Effectively Motivate Your Prospects to Buy Now, Buy More, and Tell Their Friends Too!. 8th ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.