การประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทานอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ ผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 221 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้าราชการ 6 คน ผู้นำชุมชน 5 คน จำนวน 11 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP Model)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับผลการดำเนินงานโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านผลผลิต และด้านบริบท ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี พบว่า ด้านบริบทควรมีการกำหนดจำนวนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ด้านปัจจัยเบื้องต้น ควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดและวิธีดำเนินงานของโครงการ และสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานในการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการ ควรพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อให้รับทราบแนวทางของทางราชการและรับทราบข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง และมีการประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านผลผลิต ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรม มีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเบี้ยยังชีพที่ได้รับจัดสรร
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรวิกา เยาวกูล. (2553). การประเมินผลโครงการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
นิตประภา แก้วกระจ่าง. (2550). การประเมินผลโครงการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในหมู่บ้านและชุมชนเมือง (เบี้ยยังชีพ) กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
บุษรา สามัญเขตกิจ. (2553). การประเมินผลการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
พรชนก ณรงค์มี. (2554). การใช้แบบจำลอง CIPP ในการประเมินการรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ศรัณย์ จันทร์แจ่ม. (2555). การประเมินผลการนำนโยบายการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2552). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมลักษณ์ วงษ์สนอง. (2556). การประเมินนโยบายการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดขององค์การบริหารส่วนตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
สุชัญญา มะสิทธิ์. (2553). การประเมินผลโครงการจัดสรรเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607- 610