สถานะทางกฎหมายของบริษัท ที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐถือครองหุ้นเกินกึ่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีสถานภาพเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการจึงสามารถจัดการทางการเงินการงบประมาณเองได้ กฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้อำนาจมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการต่างๆ เพื่อหารายได้หรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพื่อดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหลายแห่งจึงได้ร่วมลงทุนโดยถือหุ้นข้างมากเกินกว่าร้อยละห้าสิบในบริษัทเพื่อวัตถุประสงค์ด้านอำนาจในการบริหารจัดการ จึงเกิดปัญหาในการตีความว่าสถานภาพของบริษัทดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ซึ่งจะส่งผลต่อสถานะและการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจด้วย บทความนี้จึงมุ่งศึกษาความหมายของรัฐวิสาหกิจในกฎหมายฉบับต่างๆ และแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อวิเคราะห์สถานะของบริษัทที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเข้าถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่งดังกล่าว
จากการศึกษาพบว่าบริษัทที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเข้าถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่งไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2561 และพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 แต่เป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ดี บริษัทดังกล่าวก็มิได้มีการดำเนินการในนิติสัมพันธ์ตามที่กฎหมายทั้งสองมุ่งกำกับดูแล
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กลุ่มกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (ม.ป.ป.). จุดต่างของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐคืออะไร. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563, จาก http://www.mua.go.th/prweb/pr_web/mua.html.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (27 ตุลาคม 2502). พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502. ราชกิจจานุเบกษา, 76, ตอนที่ 98, 454. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (25 มกราคม 2518). พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ราชกิจจานุเบกษา, 92, ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ, 5-13. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (16 ธันวาคม 2542). พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา, 116, ตอนที่ 128 ก, 1-10. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (7 เมษายน 2543). พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543. ราชกิจจานุเบกษา, 117, ตอน 31 ก, 1-24. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (กุมภาพันธ์ 2546). บริษัทไทยโอเลฟินส์ จำกัด หารือกรณีหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนและเสนอขายให้แก่ผู้ร่วมทุนรายใหม่. บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 78/2546), 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://www.ppp.sepo.go.th/assets/document/file/CheckSig%20(36).html#full.
¬¬_______. (2 กุมภาพันธ์ 2548). พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548. ราชกิจจานุเบกษา, 122, ตอนที่ 12 ก, 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (5 เมษายน 2560). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2560. ราชกิจจานุเบกษา, 134, ตอนที่ 39 ก, 1-26. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (19 เมษายน 2561). พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561. ราชการกิจจานุเบกษา, 135, ตอนที่ 27 ก, 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (11 พฤศจิกายน 2561). พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา, 135, ตอนที่ 92 ก., 1-18. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (28 ธันวาคม 2561). พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา, 135, ตอนที่ 112 ก, 30-43. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (1 มีนาคม 2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ราชกิจจานุเบกษา, 136, ตอนที่ 57 ก, 49-53. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (10 มีนาคม 2562). พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา, 136, ตอนที่ 29 ก, 1-29. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (22 พฤษภาคม 2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา, 136, ตอนที่ 67 ก, 79. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
_______. (30 ตุลาคม 2563). สถานภาพของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 1-8. กรุงเทพฯ. ปรากฎในสำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563, จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/93244-ktb-krisdika-Law-state-enterprise-report.html.
อรุณ ภาณุพงศ์. (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561). การเขียนกฎหมาย. จุลนิติ, 15(6), 66. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563, จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/3journal/b54%20jun_3_2.pdf.