การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์เทศบาลตำบลน้ำน้อย จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ไซฟุดดีน อาแวสือแม
ทวนธง ครุฑจ้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์เทศบาลตำบลน้ำน้อย จังหวัดสงขลา ในด้านผู้บริหาร ด้านบุคลากร ด้านการบริหารงาน ด้านการบริการสาธารณะ ด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร และเปรียบเทียบความแตกต่างการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์เทศบาลตำบลน้ำน้อย จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบลน้ำน้อย จำนวน 341 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบด้วย LSD โดยกําหนดระดับนัยสําคัญที่ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์เทศบาลตำบลน้ำน้อย จังหวัดสงขลาอยู่ในระดับเชิงบวก โดยด้านการบริการสาธารณะมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและ ด้านผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์เทศบาลตำบลน้ำน้อยแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและคะแนนประโยชน์งานบริการสาธารณะต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์เทศบาลตำบลน้ำน้อยไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ทวนธง ครุฑจ้อน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Department of Public Administration and Human Resource Management

References

ชัยชาญ วงศ์สามัญ. (2543). การวางแผนการสอน. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

ทวนธง ครุฑจ้อน. (2545). ภาพลักษณ์องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในทัศนะของประชาชน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

บัญญัติ พุ่มพันธ์. (2547). รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงพ.ศ. 2546. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ปิยนุช ขำดี. (2558). การรับรู้ของประชาชนที่ต่อภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 6(2), 61-82.

พนัส หันนาดินทร์.(2542). ประสบการณในการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พรานนกการพิมพ์.

ลฎาภา ทำดี. (2553). การรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบลจําป่าหวาย อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา. (2562). ข้อมูลประชากรและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. สงขลา: สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา.

อํานวย วีรวรรณ. (2540). การแก้ไขวิกฤตการณ์และการสร้างภาพพจน์ขององค์การ. ในพรทิพย์ พิมลสินธุ์ (บรรณาธิการ), ภาพพจน์นั้นสําคัญยิ่งการประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ประกายพรึก.

Bryman, A. (2004). Social Research Method. 2nded. New York: Oxford University Press.

Sharpe, E., Moloney, G., Sutherland, M. & Judd, A. (2016). The Power of an Immediate Donor Registration Opportunity: Translating Organ Donation Attitudes Into Registration Behavior. Basic and Applied Social Psychology. 1-11, DOI: 10.1080/01973533.2016.1249792.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nded. New York: Harper and Row.