การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ที่เน้นทักษะการปฏิบัติสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูกิตติวราทร
พระศิลาศักดิ์ สุเมโธ
พชรเดช เสมานู
จิราภรณ์ ผันสว่าง
พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ที่เน้นทักษะการปฏิบัติสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะในระดับที่สามารถปฏิบัติงานให้มีคุณภาพได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ เป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง จำนวน 91 รูป/คน เลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผล


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ที่เน้นทักษะการปฏิบัติสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด พบว่า แนวทางการปฏิบัติงานในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ที่เน้นทักษะการปฏิบัติสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง ประกอบด้วย 1) ขั้นนำ 2) ขั้นให้ความรู้ 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ และ 4) ขั้นประเมินผล ซึ่งโดยรวมสามารถพัฒนาด้านทักษะในระดับที่สามารถปฏิบัติงานให้มีคุณภาพได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการในระดับมาก ค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.55 และเมื่อพัฒนาตามแนวทางการปฏิบัติงานในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ที่เน้นทักษะการปฏิบัติ พบว่า โดยรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้นซึ่งมีระดับการปฏิบัติ และความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.97


เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ก่อนการทดลองมีระดับการปฏิบัติและความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การจัดการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะมาประยุกต์ใช้ได้ที่ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.34 รองลงมาคือ บรรยากาศของการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมได้อย่างอิสระที่ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.41 และเมื่อพัฒนาตามแนวทางการปฏิบัติงานในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ที่เน้นทักษะการปฏิบัติ พบว่า หลังการทดลองมีระดับการปฏิบัติและความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ซึ่งด้านที่มากที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง และภาพรวมต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้วยการเน้นทักษะปฏิบัตินักศึกษามีความพึงพอใจที่ระดับมาก ค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.04 รองลงมาคือ การจัดการเรียนการสอนเหมาะสมกับความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ระดับมาก ค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.03 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะในระดับที่สามารถปฏิบัติงานให้มีคุณภาพได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ พบว่า สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2534). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับผู้สอนวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธง วสุริย์. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อการถ่ายโยงทักษะปฏิบัติสำหรับอาชีวอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). คู่มือสัมมนาเสริมชุดวิชา 24703 การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา ครั้งที่ 2. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รวีวัตร์ สิริภูบาล. (2543). การพัฒนาแบบจำลองระบบฝึกอบรมผู้สอนเชิงทักษะปฏิบัติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิราษ ภูมาศรี และคณะ. (2562). การประเมินหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครองมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554). วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(2).

อุบล สุทธิเนียม และคณะ. (2553). ผลของการใช้กระบวนการจัดการความรู้ต่อการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง กำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 2-4 มิถุนายน 2553.

Davies, I.K. (1971). Instructional Technique. New York : Mcgraw-Hill.

Padelford, H. (1984). Psychomotor Skill Acquisition in Technical Subjects. Presented at the American Vocational Association Convention. New Orleans. (Unpublished Manuscript). Prosser, C.A; & Allen, C.R. (1925).

UNESCO. (1984). Glossary of Educational Technology Terms. París: UNESCO.