การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 397 คน และผู้สูงอายุที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน จํานวน 35 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.836 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สำหรับค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.65, S.D.=0.694) โดยการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการออกเสียงทางการเมืองมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านความสนใจทางการเมือง ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกทางการเมือง ด้านการชุมนุมทางการเมือง และด้านการเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมือง ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ที่พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ให้ความสนใจข่าวสารทางการเมือง ผ่านโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะถ้าหากเป็นเรื่องที่ตนเองได้รับหรือสูญเสียผลประโยชน์ 2) ผลของการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุ พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ที่อยู่อาศัย และสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กมล เข็มนาจิตร์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8 (17), 80-89.
กันต์ญาณัฐ อัษฎาวรพัฒน์. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมืองทุ่งสงจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 45(2), 15-30.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564, จาก http://www.dop.go.th/th.
________. (2562). ผู้สูงอายุอำเภอหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564, จาก http://www.dop.go.th/th.
________. (2564). การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564, จาก http://www.dop.go.th/th.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2556). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12 (58), 22-23.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนทียั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(50), 169-186.
จุฬีวรรณ เติมผล. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง และชลิต ศานติวรางคณา. (2557). ความสัมพันธ์ของการสื่อสารที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนคร จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 4(1), 161-162
บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 12(1), 151-164.
เพ็ญนภา เว็บบ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของผู้สูงอายุ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3). 91-107.
พรทิพย์ อริยเดช. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2554). ปัจจัยที่ทรงอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลนครหาดใหญ่. (2562). แนวทางการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2564, จาก https://localfund.happynetwork.org.
สรพล น้อยเชี่ยวชาญ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อำนาจ ศรีพระจันทร์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. 5th edition. New York: Harper Collins.
Yamane,T. (1973). Statistic: AnIntroductory Analysis. 3rd edition. New York: Harper & Row.