การนำนโยบายด้านการประมงพาณิชย์ไปปฏิบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน: ความท้าทายแห่งการเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

ปุณยวีร์ หนูประกอบ
ภาวิดา รังษี

บทคัดย่อ

บทความนี้ทำการศึกษานโยบายด้านการประมงพาณิชย์ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายด้านการประมงพาณิชย์ในประเทศไทย 2) ศึกษาบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำนโยบายด้านการประมงพาณิชย์ไปปฏิบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน และ 3) วิเคราะห์แนวทางการนำนโยบายด้านการประมงพาณิชย์ไปปฏิบัติ จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ พบว่าในอดีตที่ผ่านมาระบบการจัดการประมงพาณิชย์ในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการทำประมงจนเกินขีดความสามารถการผลิตของทรัพยากรตามธรรมชาติ ประกอบกับใน พ.ศ. 2558 สหภาพยุโรปได้แจ้งเตือนว่าประเทศไทยไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หากรัฐบาลไทยไม่แก้ไขปัญหานี้สหภาพยุโรปจะไม่นำเข้าสินค้าประมงจากประเทศไทย ทำให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการประมงอย่างเร่งด่วน มีการประกาศใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐและการประกอบอาชีพประมงอย่างมาก โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบาย บทความนี้วิเคราะห์ว่าแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้แก่ การป้องกันและการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย การปรับปรุงนโยบาย ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและภาครัฐมาร่วมกันแก้ไขปัญหาและกำหนดแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมประมง. (2560). ยุทธศาสตร์กรมประมง 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.fisheries.go.th/strategy/UserFiles/files/strategy%202560-2564.pdf

กรมประมงและศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2563). คู่มือปฏิบัติงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก PIPO Manual. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20201028114852_1_file.pdf

กระทรวงการต่างประเทศ. (2562). สหภาพยุโรปประกาศปลดใบเหลืองภาคประมงไทย. สืบค้นจาก https://www.mfa.go.th/th/

ข่าวสดออนไลน์. (2562). ครม.ไฟเขียว 764 ล้าน ซื้อเรือคืนหลังประมงเจอพิษแก้ไอยูยู นายกหวั่นเวียนเทียน. ข่าวสด. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/ economics/news_2277605

ชยากร พันธ์หล้า, ทิพาพร พิมพิสุทธ์, ลลิดา ช่วยรักษ์, และ พัด ลวางกูร. (2557). การนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไปปฏิบัติ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 9(1), 82-99.

เดลินิวส์ออนไลน์. (2558). เรือประมงนับพันจอดประท้วงรัฐบาลออกกฎคุมเข้ม. เดลินิวส์. สืบค้นจาก http://www.dailynews.co.th/regional/332026

ปานชนก ชูหนู. (2564). การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีแรงงานเด็กข้ามชาติ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(1), 430-445.

พศกร โยธินนีรนาท, ผจงรักษ์ กุยแก้ว, ไพรินทร์ มากเจริญ, และ ครองธรรม นีละไพจิตร.(2559). การพัฒนานโยบายแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ พ.ศ. 2559 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิดา รังษี, และ เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2563). พัฒนาการของการประมงพาณิชย์จังหวัดระนอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(2), 159-179.

มยุรี อนุมานราชธน. (2549). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.

สมพร เฟื่องจันทร์. (2552). นโยบายสาธารณะ: ทฤษฎีและการปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: ออนอาร์ตครีเอชั่น.

สยามรัฐออนไลน์. (2562). ตร.-กรมประมง ดำเนินคดีเรือประมงผิดกฎหมาย 96 ลำ. สยามรัฐ. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/98812

สัญญา เคณาภูมิ, และ บุรฉัตร จันทร์แดง. (2562). ตัวแบบทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 95-115.

สิชล หอยมุข, พรอนันต์ คีรีรัตน์, ธุมาวดี ใจเย็น, ทัศพล กระจ่างดารา, และ วรรลี สิงห์ธงยาม. (2559). ทรัพยากรสัตว์น้ำจากเรือสำรวจประมง บริเวณฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2549 (รายงานผลการวิจัย). ภูเก็ต: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่ง อันดามัน.

อริยพร โพธิใส. (2560). มาตรการและแนวทางป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของประเทศไทยกับหลักการสำคัญของ IUU Fishing. วารสารจุลนิติ, 14(4), 149-161.

Food and Agriculture Organization of the United Nations [FAO]. (2016). The State of World Fisheries and Aquaculture. Rome: Publishing Policy and Support Branch.