ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนออนไลน์ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนออนไลน์กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษาโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาทั้งหมดจำนวน 438 คนและได้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ วิเคราะห์ข้อมูลและสมมติฐานโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภาพรวมมีการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะผู้เรียนมีความรู้และประสบการใหม่เพิ่มขึ้น 3) ประสิทธิผลของการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมากโดยเฉพาะผู้เรียนมีทักษะทางปัญญาและมีทักษะพิสัย 4) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา โดย 4.1) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้านแผนการสอน ด้านมาตรการและการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ ด้านการประหยัดค่าใช้จ่าย และด้านผู้เรียนมีความรู้มีประสบการณ์ใหม่ 4.2) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้านมาตรการ การเรียนออนไลน์ การตรวจสอบ และการปรับปรุงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผล ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรมีการวางแผนและจัดการเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดที่เข้าใจง่าย ทันสมัย และทั่วถึงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลพร้อมกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ในประเทศไทยผู้ติดเชื้อรายใหม่และสะสม. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/?fbclid=IwAR1S8DiN9nnH6BbhDBpg3TLt-S6ERWmjAtzuSGL3c_ajK9JyL0oh-kO0g1o.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ : วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. สืบค้นจาก https://slc.mbu.ac.th/article/28181/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5/
ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พิชญา มุสิเกตุ, และ อมลณัฐ สังข์มุด, สัมภาษณ์, 31 มีนาคม 2563.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, ไพบูลย์ เกียรติโกมล, และ เสกสรร แย้มพินิจ. (2546). การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับ e-learning. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. (2564). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาสุราษฎร์ธานี เรื่อง แนวทางการจัดการสอนและการวัดและประเมินผลกรณีสถานการณ์ไม่ปกติของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก http://www.surat.psu.ac.th/UserFiles/File/dawanee/.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). คำสั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรื่องมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. สืบค้นจาก http://123.242.172.6/covid19_surat/index.php.
สุเนตร สืบค้า. (2552). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วยโปรแกรมมูเดิ้ล (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เอ็ดดูเคชั่น เซ็นเตอร์. (2561). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.educatorroundtable.org/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5/
Hikmat, Hermawan, Endang, Aldim, & Irwandi. (2020). Effectiveness of Online Learning during the Covid-19 Pandemic, PeriodAn Online Survey, UIN: Sunan Gunung Djati Bandung.
Jittalo, I., Arawan,W., & Thanok, S. (2016). Factors Influencing Pleasant Learning of Prathom Suksa 6 Studentsunder Buriram Primary Education Service Area Office. Educational Evaluation Journal, 22(1), 386 –396.
Joesyiana, K. (2020). The Effectiveness of Online Classes during The Covid-19 Pandemic (Case Study: Students of the Management Study Program of Persada Bunda). Media Bina Ilmiah, 15(2), 4045-4056.
Pelz B. (2010). (My) Tree Principles of Effective Online Pedagogy. J Asynchronous Learn Netw, 14(1), 103-116.
Thompson, L., & Ku, H.-Y. (2006). A Case Study of Online Collaborative Learning. The quarterly review of distance education, 7(4), 361-375.
Williams, B. K., & Sawyer, S. C. (2015). Using Information Technology : A Practical Introduction to Computers & Communications. New York: McGraw-Hill- Education.