การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลในปัจจุบันทำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่จำกัด สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นหนึ่งในสื่อที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทย เช่น ยูทูบ (Youtube) อินสตาแกรม (Instagram) ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือ เฟซบุ๊ก (Facebook) ที่สามารถทำได้ทั้งสร้างข้อมูล ดาวน์โหลด แบ่งปันข้อมูล รวมทั้งเชื่อมต่อสื่อสารกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาที่รวดเร็วและเป็นวงกว้าง ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ทำให้สื่อสังคมออนไลน์เหมาะกับการเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลข่าวสารสำคัญกับประชาน เพื่อให้เกิดการรับทราบและเกิดความตระหนักรู้ บทความนี้ได้เสนอแนวทางที่จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการทุจริตเชิงนโยบายให้กับประชาชน โดยใช้คลิปวิดีโอ (Video) อินโฟกราฟิก (Infographic) และโมชันอินโฟกราฟิก (Motion Infographic) นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตเชิงนโยบายให้มีความน่าสนใจและผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น จากนั้นอาศัยกลไกลของสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกระจายข้อมูลสู่สาธารณะ นอกจากนี้การใช้แฮชแท็ก (Hashtag) บนสื่อสังคมออนไลน์ยังทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตระหนักถึงปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย และอาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคมต่อไป เช่น การนัดหมายหรือการลงชื่อเพื่อทำการต่อต้านนโยบายที่มีการทุจริต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กองบรรณาธิการรีไวว่า. (2563). นำเสนอข้อมูลด้วยภาพ Infographic จะโปรโมทหรือขายอะไรก็ปัง! (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิจัยสมาคมห้องสมุดฯ, 8(2), 55-69.
จุมพล หนิมพานิช. (2552). การประเมินผลนโยบาย : หลักการ แนวคิด และการประยุกต์ใช้ = Policy evaluation : principles, concepts & application. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โชคสุข กรกิตติชัย. (2563). การลดลงของดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของไทย ประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=77164
ณัฐรดา ชัยพัฒน์. (2562). ปัญหาการชี้เบาะแสการทุจริตโดยภาคประชาชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เดอะ สแตนดาร์ด ทีม. (2564). สรุปประเด็น ‘เสาไฟประติมากรรม’ สวยงามแต่ไม่คุ้มการใช้งาน ป.ป.ช. เร่งตรวจสอบความโปร่งใส. สืบค้นจาก https://thestandard.co/sculptural-light-pole-issues-summary/
ต่อตระกูล ยมนาค, และ ต่อภัสสร์ ยมนาต. (2562). คอร์รัปชัน ไม่มีไม้เอก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทใจดอทคอม. (2564). ต้องแฉ-พื้นที่สื่อกลางแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน. สืบค้นจาก https://taejai.com/th/d/mustshare/
ธัญธัช นันท์ชนก. (2561). INFOGRAPHIC Design ฉบับ Quick Start + Easy Workshop + Make Money (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.
นพดล อัครคหสิน. (2561). เทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์สื่อ Motion Infographic เพื่อใช้ในสื่อออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,กรุงเทพฯ.
นิชคุณ ตุวพลางกูร. (2561). การเคลื่อนไหวทางสังคมด้านการเมืองในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษาการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและการต่อต้านระบบซิงเกิลเกตเวย์. วารสารศาสตร์, 11(1), 93-115.
พงษ์ธร ธัญญสิริ. (2552). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.
พศพันธุ์ ศุขเกษม. (2562). พื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่กับการสื่อสารทางการเมือง: ขบวนการร่มบนสื่อสังคมออนไลน์ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มติชนออนไลน์. (2564). ป.ป.ช. ตั้งองค์คณะไต่สวน ‘เสากินรี อบต.ราชาเทวะ’ ผู้ถูกกล่าวหากว่า 20 ราย มีตั้งแต่อดีต ผวจ.-นายกอบต. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2805758
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักมาตรการป้องกันการทุจริต. (2555). มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย ฉบับวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักมาตรการป้องกันการทุจริต. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ปกป้อง จันวิทย์, อิสร์กุล อุณหเกตุ, ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์, และ สาโรช ศรีใส. (2557). เมนูคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.
อัครพล ด่านทองหลาง. (2561). Infographic คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.beartheschool.com/share-1/2018/10/24/infographic-
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ประเทศไทย. (2562). เปิดตัว ‘เครื่องมือสู้โกง (ACT Ai)’ ติดอาวุธหนักสังคมไทยขจัดคอร์รัปชัน. สืบค้นจาก http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/1327/20/เปิดตัว‘เครื่องมือสู้โกง(ACTAi)’ติดอาวุธหนักสังคมไทยขจัดคอร์รัปชัน
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ประเทศไทย. (2563). จับโกงงบโควิดด้วย ACT Ai. สืบค้นจาก https://covid19.actai.co/
Oxford Learner’s Dictionaries. (2021). Hashtag. Retrieved from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/hashtag?q=hashtag
Sharethrough. (2021). 75% of people watch mobile videos on mute: What that means for advertisers. Retrieved from https://digiday.com/sponsored/75-percent-of-people-watch-mobile-videos-on-mute/