ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับมาตรฐานการบริหารจัดการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิกด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 32 ชุมชน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูล คือ ตัวแทนกลุ่มและสมาชิกกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในส่วนของสมาชิกกลุ่มได้กำหนดโควตาจำนวนผู้ให้ข้อมูลชุมชนละ 5 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน)
ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 32 ชุมชน โดยภาพรวม พบว่า มีระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในระดับดี ( = 2.78 SD = 0.77) และระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93 S.D.= 0.69) และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เขตพื้นที่ตั้งของกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน ( = 15.176) การมีส่วนร่วมของสมาชิกด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ( = 7.952) จำนวนกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (r = 0.563) จำนวนการได้รับการสนับสนุน (r = 0.455) และคณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน (r = 0.441) มีความสัมพันธ์กับระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กฤติยา สมศิลา, และ กนกกานต์ แก้วนุช. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 103-122.
จิตประสงค์ สุริเดช, และ ปานแพร เชาว์นปประยูร. (2560). การมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน การประชุมวิชาการและประกวดนวัตกรรมบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (น. 1773-1781). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ. (2562). การศึกษาศักยภาพและรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ภาคเหนือ (15 จังหวัด) และภาคกลาง (สิงห์บุรี และอ่างทอง) ประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ดวงพร อ่อนหวาน, สมพร ยี่จอหอ, สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์, นินนาท อ่อนหวาน, และ พุทธิพัทธ์ หลอยส่งศรี. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ปวีณา งามประภาสม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(8), 78-87.
ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. (2531). การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารพัฒนาชุมชน, 27(2), 24-30.
สมชาย ชมภูน้อย. (2561). แนวทางการเพิ่มมูลค่าท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2557). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
อารีย์ สุวรรณคีรี. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.