การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

Main Article Content

ทวนธง ครุฑจ้อน
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะ แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยกับปัจจัยผลักดันการบริการสาธารณะ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.62 (S.D. = 1.84) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 8.73 (S.D. = 1.81) รองลงมา คือ  ด้านขั้นตอนการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.61 (S.D. = 1.94) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.59 (S.D. = 1.96) และด้านช่องทางการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 8.55 (S.D. = 1.81) เมื่อพิจารณาแต่ละงานบริการสาธารณะ พบว่า งานบริการรับชำระภาษี มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 9.07 (S.D. = 1.38) รองลงมา คือ งานจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.72 (S.D. = 1.48) งานปฏิบัติการ SAVE SABAYOI สู้ภัยโควิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.43 (S.D. = 2.08) และงานดูแลทำความสะอาดที่สาธารณะต่าง ๆ ในเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.26 (S.D. = 2.19)  แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ ได้แก่ การมุ่งสื่อสารและประชาสัมพันธ์งานบริการสาธารณะ การพัฒนาคุณภาพบริการให้ตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยผลักดันบริการสาธารณะ ประกอบด้วย การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คุณภาพบริการ และการมีส่วนร่วมในงานบริการสาธารณะมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจ้าท่า สำนักแผนงาน กลุ่มสถิติวิเคราะห์. (2562). การสำรวจความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าเรือโดยสารริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต กทม. และปริมณฑล ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: กรมเจ้าท่า.

ทวนธง ครุฑจ้อน, ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, และ อภิรดี จิโรภาส. (2563). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รายงานวิจัย). ภูเก็ต: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต.

ทวนธง ครุฑจ้อน, ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, อรสา อนันต์, และ อภิรดี จิโรภาส. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ภูเก็ต: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพุทธศักราช 2542. (2542, 17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114 ก, หน้า 48-66.

พระราชบัญญัติเทศบาลพุทธศักราช 2496. (2496, 17 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 70 ตอนที่ 14, หน้า 222-257.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพุทธศักราช 2535. (2535, 4 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 108 ตอนที่ 156, หน้า 1-41.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยนครพนม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. (2563). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองเลิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รายงานวิจัย). บึงกาฬ: มหาวิทยาลัยนครพนม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีต่อการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2561 (รายงานวิจัย). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2560). การประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการเทศบาลตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (รายงานวิจัย). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลนครตรัง ประจำปีงบประมาณ 2562 (รายงานวิจัย). ตรัง: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, ธารทิพย์ พจน์สุภาพ, อาจารีย์ ประจวบเหมาะ, และ ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์. (2560). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 37-47.

สัญญา เคณาภูมิ และคณะ. (2563). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลศรีแก้ว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2562). การสำรวจความพึงพอใจการให้บริการของเทศบาลเมืองเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ประจำปี พ.ศ 2562 (รายงานวิจัย). ลพบุรี: เทศบาลเมืองเขาสามยอด.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2562). การสำรวจความพึงพอใจการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (รายงานวิจัย). นครสวรรค์: องค์การบริหารส่วนตำบลบางเคียน.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2558). การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ 2558 (รายงานวิจัย). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ธนบุรี. (2562). การประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2562. (รายงานวิจัย). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักทะเบียนเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย. (2564). ข้อมูลประชากร. สืบค้นจาก https://www .sabayoicity.go.th

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักบริการวิชาการ. (2562). โครงการสำรวจความพึงพอใจในคุณภาพการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี 2562 (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2560). ความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 10(1), 64-84.

Psomas, E., Vouzas, F., Bouranta, N.,& Tasiou, M. (2017). Effects of total quality management in local authorities. International Journal of Quality and Service Sciences, 9(1), 41-66.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York, NY: Harper and Row.

Yang, K., & Miller, G. J. (2008). Handbook of research methods in public administration (2nd ed.) New York, NY: Taylor & Francis group.