การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนของเด็กรุ่นใหม่ กรณีศึกษา นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกะแดะ อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนของเด็กรุ่นใหม่ กรณีศึกษา นักเรียนโรงเรียนบ้านปากกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 95 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนของเด็กรุ่นใหม่ โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการประเมินผล และด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ
2) ผลเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน พบว่า ปัจจัยด้านเพศของกลุ่มตัวอย่างส่งผลให้การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (t=-2.47, sig =0.015) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (t=-2.33, sig =0.022) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (t=-3.18, sig =0.02) ปัจจัยด้านอายุของกลุ่มตัวอย่างส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (F=2.69, sig = 0.026) และปัจจัยด้านระดับชั้นการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (F=2.70, sig = 0.025) ในขณะที่ปัจจัยด้านรายได้ของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างส่งผลให้การมีส่วนร่วมในการประเมินผลมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (F=2.76, sig = 0.046)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2550). คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน: เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงพระชนพรรษา 72 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตำรวจ.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2552). สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและการกระจายของป่าชายเลน. สืบค้นจาก http://www.dmcr.go.th/marinecenter/mangrove-lesson2.php
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง . (2556). พื้นที่ป่าชายเลนในอดีต. สืบค้นจาก http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/mangroves_doc08/
กองประสานการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2534). รายงานสถานภาพทรัพยากรชายฝั่งทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.
ณัฐวดี นกเกตุ, ข้อดี้เย๊าะ พรชัย, สมพงค์ บันติวิวัฒน์กุล, และ จักรพงษ์ อดทน. (2551). สัตว์ทะเลหน้าดินในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เอกสารวิชาการฉบับที่ 15/2551. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง.
ธเนศ เกษศิลป์, และ นันนา รอดสุทธิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้คลองสาธารณะ:กรณีศึกษา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 283-296.
นภา จันทร์ตรี, และ พงศธร จันทร์ตรี. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีศึกษาชุมชนบางชัน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 3(12), 201-207.
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2550). การวางแผนการจัดการอ่าวบ้านดอนและเกาะนอกชายฝั่ง: การวิเคราะห์และวินิจฉัยระบบชายฝั่ง, รายงานฉบับสมบูรณ์, โครงการการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ศิริพร ชูประสูตร, และ สุชาติ เชิงทอง. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้กรณีศึกษา:เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. (น. 420-434). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2552). เลียบอ่าวบ้านดอนชมคนชายเลรักษาเล. สืบค้นจาก http://www.codi.or.th/nature/index.php?option=com_content&view=article
สมศักดิ์ พิริยโยธา. (บรรณาธิการ). (2552). แผนแม่บทการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
สันติ สุขสอาด, และ รัชดา ศรีศักดิ์บางเตย. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ของชุมชนตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี วารสารวนศาสตร์, 34(1), 101-111.
อภิชาติ ศรีหนูสุด. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนรูสะมิแล ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยราชภัฎ, ยะลา.
โรงเรียนบ้านปากกะแดะ. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2561. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนบ้านปากกะแดะ.
Cohen, J. M., and Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.