สังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การรวบรวมกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมและการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในกระแสสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทน 10 กลุ่มชาติพันธุ์ การสนทนากลุ่มกับผู้นำ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ 10 กลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย รวมถึงแกนนำกลุ่มเครือข่ายชาติพันธุ์ ในจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ และประเทศ สปป. ลาว รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 180 คน
ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยวน ไตหย่า ดาราอ้าง ลั๊วะ อาข่า ลาหู่ และ จีนยูนนาน เกิดการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมในชุดความหมายใหม่ที่เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น การท่องเที่ยว การค้าและบริการ โดยกลไกของชุมชน การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น และการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคมชาติพันธุ์ ทั้งในและนอกประเทศ ด้วยเพราะยังคงอัตลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นชาติพันธุ์และปฏิบัติการที่มีความพยายามในการฟื้นฟูให้เกิดการคงอยู่ ที่โดดเด่น คือ การแต่งกาย ภาษา อาหารและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
โครงการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์. (2565). เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย: นโยบายเพ้อฝันหรือศักยภาพที่ยังไม่ถูกค้นพบ. สืบค้นจาก http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=1844
เมธี พิริยการนนท์, และ นพดล ตั้งสกุล. (2564). ปริทัศน์บทความ เรื่องพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทางวัฒนธรรมและพื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม. วารสารหน้าจั่ว, 18(1), 134-158.
ณัฏฐินี ปิยะศิริพนธ์. (2561). ชุมชนพหุวัฒนธรรมท่ามกลางวาทกรรมชาตินิยมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย. วารสารรัฉฐาภิรักษ์, 60(2), 60-72.
ธุวพล ทองอินทราช. (2564). กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาความหลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนไทยทรงดำจังหวัดชุมพร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 237-250.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2558). ความหลากหลายทางชาติพันธุ์กับประชาคมอาเซียน: ปัญหาและข้อพิจารณา. วารสารนักบริหาร, 35(2). 33-45.
บรรจง อมรชีวิน. (2547). วัฒนธรรมข้ามชาติ กับการบริหารและการเจรจาต่อรอง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปรีชา อุปโยคิน, พลวัฒ ประพัฒน์ทอง, และ ภัทรา ชลดำรงค์กุล. (2560). ความหลากหลาย กลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์, 47(1). 81-105.
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแนวคิด Geert Hofstede. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(47), 233-240.
สราวุธ ผาณิตรัตน์, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง, และ กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2564). การสร้างพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในเขตคลองสานสู่เมืองสร้างสรรค์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1). 93-108.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, เอกพงศ์ สุวรรณเกษร์, อิสระ ชูศรี, โสภนา ศรีจำปา, อภิญญา บัวสรวง,...ประภาศรี ดำสอาด. (2544). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการวิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ 2/2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อนุวัตร อินทนา. (2558). การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ : เสียงสะท้องของกลุ่มชาติพันธุ์ในโลกเสรีนิยมใหม่. เชียงใหม่: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
อาคม สุวรรณกันธา. (2558). เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคเหนือ. สืบค้นจาก www.gold enworld-inter.com/index.php?option
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2560). พื้นที่ความรู้ มานุษยวิทยา คนสามัญ : 70 ปี อานันท์ กาญจนพันธุ์. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Helly, D. (2002). Cultural Pluralism : An Overview of the Debate since the 60s. The Global Review of Ethnopolitics, 2(1), 75-96.
Lefebvre, H. (1991). The Production of Space. Oxford: Blackwell.