การบริหารจัดการขยะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ณัฐชานันท์ วงศ์มูลิทธิกร
สุชาดา เมฆพัฒน์
พิมพ์วลัญช์ ศรีบุญ
ชวิน คำบุญเรือง
รุ่งอรุณ หน่อคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลในการศึกษาวิจัยมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการขยะ รวมไปถึงข้อมูลจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา


ผลการวิจัย พบว่า เทศบาลตำบลป่าสัก มีแนวทางการบริหารจัดการขยะในชุมชน โดยใช้หลัก 3ช (3Rs) คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และ นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และเป็นการทำงานภายใต้การแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคศาสนา และภาคประชาสังคม  โดยมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ คือ แบ่งเป็นการบริหารจัดการขยะออกเป็น ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการขยะ ไว้ในแผนปฏิบัติการการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”จังหวัดลำพูน


ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรปลูกฝังนิสัยและวินัยให้กับคนในชุมชน เกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ อาจมีการนำเข้าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น คือ การบูรณาการการบริหารจัดการขยะเข้ากับแผนการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขยะครบทุกมิติที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2563). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

เทศบาลตำบลป่าสัก. (2564ก). ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้นจาก http://www.pahsak.go.th/index.php?_mod=bmV3cw

เทศบาลตำบลป่าสัก. (2564ข). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. ลำพูน: เทศบาลตำบลป่าสัก.

พระมหานิพันธ์ ปริปุณฺโณ. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะของชุมชน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วณิชดา ไชยศิริ. (2565). การบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่ายในการจัดการขยะ: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

สุวิน ศรีเมือง, และ ภูกิจ ยลชญาวงศ์. (2563). การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ขยะชุมชนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(1), 203-211.

อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตเทศบาลตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ปทุมธานี.