การประเมินผลการดำเนินงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงไก่เบตงบ้านโคกเคียน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

พรไทย ศิริสาธิตกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กลุ่มผู้เลี้ยงไก่เบตงบ้านโคกเคียน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส  โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และแบบประเมิน สำหรับการประเมินโครงการใช้แบบจำลองซิป


ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มผู้เลี้ยงไก่เบตงบ้านโคกเคียน ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวของเกษตรกรที่ต้องการสร้างอาชีพเสริมจากการทำเกษตร โดยกลุ่มมีลักษณะรวมตัวเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ และเลี้ยงโดยใช้ฐานการผลิตของครัวเรือน การก่อตั้งกลุ่มเริ่มจากวัตถุประสงค์ในการทดลองเลี้ยงไก่เบตงเพื่อการอนุรักษ์และค่อยพัฒนาทักษะการเลี้ยง เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง สมาชิกกลุ่มค่อย ๆ ลดลง ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงไก่เบตงต้องอาศัยทักษะและวิธีการเลี้ยงที่ซับซ้อน แต่ก็ยังมีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่เลี้ยงต่อเนื่องและเริ่มหาทางออกใหม่ โดยต้องการเพิ่มมูลค่าไก่เบตงด้วยการทดลองแปรรูปเป็น “ไก่เบตงสับ” พร้อมรับประทาน ด้วยเหตุนี้สมาชิกกลุ่มจึงเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้รับการพัฒนายกระดับด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ได้แก่  1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่เบตงสับ 2) การพัฒนาโลโก้กลุ่ม และบรรจุภัณฑ์ และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบไก่เบตงสับ เพื่อนำไปสู่การจำหน่าย รวมถึงการอบรมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน และการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำผลิตภัณฑ์ไก่เบตงสับให้กับสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงไก่เบตงบ้านโคกเคียนและผู้สนใจ สำหรับการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมประสบความสำเร็จอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากผลคะแนนมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผลที่ได้รับอยู่ในระดับดีมาก ด้านปัจจัยนำเข้า   อยู่ในระดับดีมาก ด้านบริบทอยู่ในระดับดี  และด้านกระบวนการอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มงคล คงเสน. (2561). โมเดลการส่งเสริมการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2564). ข้อเสนอโครงการประเมินผลการดำเนินงานและผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [เอกสารถ่ายสำเนา]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คลินิกเทคโนโลยี. (2563). โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านอนุรักษ์และพัฒนาการเลี้ยงไก่เบตง ประจำปีงบประมาณ 2563 (รายงานวิจัย). นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

สยามรัฐออนไลน์. (2561, 17 กันยายน). อนาคต “ไก่เบตง” :อนาคตคุณภาพชีวิต 3 จว.ชายแดนใต้. สยามรัฐ. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/46625

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). การเลี้ยงไก่เบตง. ยะลา: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเบตง.

สุวรรณา ทองดอนคำ. (2563). โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (การเพิ่มมูลค่าการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดยะลา) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รายงานการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Laxmi. (2021). Converting percentage to GPA out of 10. Retrieved from https://www.learncram.com/calculator/converting-percentage-to-gpa-out-of-10/

Stufflebeam, D. L. (1993). The CIPP model for program evaluation. In G. F. Madaus, M. S. Scriven and D. L. Stufflebeam (Eds.), Evaluation models. Boston: Kluwer-Nijhoff.