ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคุมประพฤติ ด้านการสืบเสาะและพินิจประจำสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคุมประพฤติด้านการสืบเสาะและพินิจประจำสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรสาคร 2) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคุมประพฤติด้านการสืบเสาะและพินิจประจำสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำเลย ผู้เสียหาย ญาติของจำเลย คู่สมรสของจำเลยและพยานที่เกี่ยวข้องกับคดี จำนวน 234 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติพรรณนา เพื่ออธิบายผลการศึกษา ได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคุมประพฤติด้านการสืบเสาะและพินิจประจำสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.91,SD = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในลำดับมาก จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านพฤติกรรมและการแสดงออก และด้านความรู้ความสามารถ และอยู่ในลำดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการเสนอแนะและสนับสนุนให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในงานคุมประพฤติ 2) แนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคุมประพฤติ ได้แก่ การเสนอแนะและสนับสนุนให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในงานคุมประพฤติ เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในงานคุมประพฤติเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาส ให้ผู้เสียหายได้แสดงความรู้สึกและบอกเล่าผลกระทบที่ได้รับ ผู้กระทําผิดได้แสดงความรับผิดชอบและนำไปสู่การที่ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาหรือชดใช้ความเสียหาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ พนักงานคุมประพฤติจึงควรได้รับการพัฒนาศักยภาพ โดยการอบรม, การอบรมเชิงปฏิบัติการหรือการสอนงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงยุติธรรม กรมคุมประพฤติ. (2551). คู่มือการปฏิบัติงานการสืบเสาะและพินิจ
กระทําผิดที่เป็น ผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ศูนย์กลางบริการอัดสําเนาฯ กรมคุมประพฤติ.
กระทรวงยุติธรรม กรมคุมประพฤติ. (2565). ระบบสารสนเทศกรมคุมประพฤติ. สืบค้นจาก https://dopis.probation.go.th:8181/main/Login_input.do
กฤษณี โพธิ์ชนะพันธ์. (2542). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของโรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
นิภา ปิ่นทองพันธ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้มาติดต่อราชการต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานตอนรับประจำศาลจังหวัดเกาะสมุย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรทิพย์ สำลีนิล. (2564). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดตรัง (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
พรสุดา สุขสม. (2564). ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการให้บริการของสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตดามาศ คำสวนจิก. (2559). ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของส่วนคดีศาลจังหวัดร้อยเอ็ด (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New jersey, NY: Prentice-Hall.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Millet. (1964). Management in the Public Service, The quest for effective performance. New York, NY: McGraw-Hill.