ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวต่อ ปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

รุ่งวิทย์ ตรีกุล
จรินทร์ ฟักประไพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดต่อปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว ประชากรในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดทั้งในเมืองและนอกเมือง จำนวน 480 คน โดยแหล่งท่องเที่ยวในเมืองและนอกเมือง ประกอบไปด้วย 1) หอโหวดร้อยเอ็ด 2) บึงพลาญชัย 3) ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด 4) พระมหาเจดีย์ชัยมงคล และ  5) เจดีย์หินทรายวัดป่ากุง (วัดประชาคมวนาราม) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน)


ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-45 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ 10,000-30,000 บาทต่อเดือน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ต่อปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือแหล่งท่องเที่ยวในเมืองและแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในเมืองประกอบด้วยด้านการเดินทางและการบริการนำเที่ยว (T) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (A) ด้านบุคลากรและความปลอดภัย (P) และด้านการบริการอื่น ๆ (S) หรือ TAPS MODEL และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวนอกเมือง ประกอบด้วยด้านการท่องเที่ยว (T) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (A) ด้านบุคลากร (P) ด้านรายการนำเที่ยว (T) และด้านเอกลักษณ์ (U) หรือ TAPTU MODEL โดยปรากฎความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดทั้ง    2 กลุ่มต่อปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว ที่มีผลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Chi – Square) คือ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทาง จัดจำหน่าย ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิฏฐา เกิดฤทธิ์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวถนนคนเดิน จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3), 74-83.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. “สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสองพ.ศ.2560-2564”. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12

ณฐวัฒน์ พระงาม. (2562). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดสินค้าในถนนคนเดินจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(1), 1-11.

ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง. (2558). ปัจจัยที่กำหนดในการเลือกที่พัก รวมถึงวัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าพักที่มีต่อการบริการของสงขลาพาเลซ (รายงานการวิจัย). สงขลา: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

รุ่งวิทย์ ตรีกุล. (2565). การจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

รุ่งวิทย์ ตรีกุล และ จรินทร์ ฟักประไพ. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 8(1), 1-16.

วีรยา เจริญสุข. (2562). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(1), 39-47.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์. สืบค้นจาก http://roiet.most.go.th/ewt_news.php?nid=403.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นจาก http://roiet.mots.go.th/more_graph.php

Kaur, S. (2014). Role and Effectiveness of marketing Services in tourism: CaseStudy of India. Poland, Alcide De Gasperi University of Euro regional Economy.

World Tourism Organization. (2018). Sustainable Tourism Development. Madrid, Spain.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York, NY: Harper and Row.