การศึกษาสาธารณสุขชุมชน: สังเคราะห์ผ่านการดำเนินโครงการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อทบทวนสถานะองค์ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชนมองผ่านการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) โดยสามารถวิเคราะห์เนื้อหาออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) การประเมินประสิทธิภาพและการปรับปรุงโครงการ 2) การสำรวจแรงจูงใจและปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ 3) การทำงานแบบมีส่วนร่วม และ 4) กลุ่มที่มีความยืดหยุ่นในการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า มีข้อจำกัดบางแง่มุม ได้แก่ หนึ่ง: การศึกษากระแสหลักได้สร้างข้อจำกัดในรูปแบบของวิธีการศึกษาและข้อค้นพบภายใต้อิทธิพลของสำนักปฏิฐานนิยม สอง: กระบวนทัศน์เชิงวิพากษ์ที่ขาดหายเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดการตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือเรียกว่าตามสามัญสำนึก ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอว่าการศึกษาในอนาคตควรให้ความสำคัญกับการอธิบายที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยของการวิเคราะห์กับระบบโครงสร้างทางราชการของรัฐ ซึ่งบ่อยครั้งเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพปัญหาในพื้นที่ระดับปฏิบัติการแต่ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญ รวมไปถึงการตั้งคำถามกับการออกแบบนโยบายสุขภาพของรัฐไทยเพื่อเปิดมุมมองเชิงวิพากษ์ที่นำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2547). การสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2544–2547. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2554). กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระดับชาติปี 2554-2558. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ.2521-พ.ศ.2557). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เกศรินทร์ ไหลงาม, และ สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์. (2561). นวัตกรรมระบบสุขภาพระดับอำเภอ บริการสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 108-115.
ฉลองชัย สิทธิวัง, นิคม สุนทร, กรภัทร ขันไชย, ชาญชัย มหาวัน, นิคม อุทุมพร, เกษร ไชยวุฒิ, และ กันจน เตชนันท์. (2564). การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์, บัวพลอย พรหมแจ้ง, และ นงนุช โอบะ. (2561). การถอดบทเรียนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอเพื่อมุ่งสู่อำเภอสร้างเสริมสุขภาพ: กรณีศึกษาตำบลในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย. วารสารพยาบาลและสุขภาพ, 12, 161-171.
ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2561). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชนาฏ หวนนากลาง, พรพจน์ ศรีดัน, อรอุมา ซองรัมย์, พิชญา สุรพลชัย, เอื้อมพร จันทร์ทอง, ธิดาศิลป์ เปลี่ยนละออ, และ ปานแก้ว ตันติรัตนกุลชัย. (2564). การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของการดำเนินงาน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.): กรณีศึกษา พชอ. 4 แห่ง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.
พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์. (2563). ผลการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอในการแก้ไขปัญหาความดันโลหิตสูง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 57-62.
ภูดิท เตชาติวัฒน์, อภิชาต วิสิทธิ์วงษ์, ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ, พัชรินทร์ สิรสุนทร, ทวีศักดิ์ นพเกษร, วินัย ลีสมิทธิ์, และครรชิต สุขนาค. (2560). การสังเคราะห์ทางเลือกของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองเขตสุขภาพที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.
ภูดิท เตชาติวัฒน์, อรพินท์ เล่าซี้, วิชช์ เกษมทรัพย์, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, ดุษณี ดามี, . . . จริยา ศรีกลัด. (2564). โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.
ภาคภูมิ แสงกนกกุล. (2562). การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทยช่วงเวลา พ.ศ. 2493-2539 ด้วยกรอบเศรษฐศาสตร์การเมือง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 1-37.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก, หน้า 1-99.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561. (2561, 9 มีนาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 54 ง, หน้า 3 ข้อ 7.
ร่วม มะโนน้อม และ ยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2564). บทบาทและภาพลักษณ์ต่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในมุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 1(3), 61-80.
วุฒินันต์ สุดบอนิจ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(1), 89-95.
วุฒิชัย จริยา, อาทิตยา วังวนสินธุ์ และ ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2561). ระบบสุขภาพระดับอำเภอ: ประสบการณ์ต่างประเทศและการพัฒนาในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 12(1), 182-195.
สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล, และ สุทธิพร ชมภูศรี. (2562). ผลการประเมินการจัดการเครือข่ายการบริหารงานเพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดพะเยา. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 15(2), 64-80.
สุรพงษ์ ลักษวุธ. (2564). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการดาเนินงานคณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับอาเภอ (พชอ.) จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 192-206.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2561). การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: แนวคิดและข้อโต้แย้งทางปรัชญาสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
Tejativaddhana, P., Briggs, D., Singhadej, O., & Hinoguin, R. (2018). Developing primary health care in Thailand: Innovation in the use of socio-economic determinants, Sustainable Development Goals, and the district health strategy. Public Administration and Policy, 21(1), 36-49.
Kasemsup, V., Suriyawongpaisal, W., Thamma-aphiphol, K., Dammee, D., & Suthisukhon, K. (2020). Engagement of the District Health Board in Providing Preventive Measures for Chronic Kidney Disease Care in Thailand: The Perspective of a Multi-Disciplinary Team. Journal of Public Health and Development, 18(2), 1-9.
World Health Organization. (1981). Global strategy for health for all by the year 2000. Switzerland: World Health Organization.