สมรรถนะหลักของบุคลากรที่รองรับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (ช่วงระหว่างปี 2566-2570)

Main Article Content

ชวัลวิทย์ ด่านวิไลปิติกุล
เอกพิชญ์ ชินะข่าย
นนท์ น้าประทานสุข
จริยา โกเมนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักที่เป็นอยู่ สมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ช่วงระหว่างปี 2566-2570) โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟายในการดำเนินการวิจัยโดยทำการรวบรวมข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมรรถนะหลักจาก 12 หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 12 คน และผู้เชี่ยวชาญนอกพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 17 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับรวบรวมข้อมูลสมรรถนะหลักที่เป็นอยู่ 2) แบบสอบถามปลายเปิด สำหรับรวมรวบข้อมูลสมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์ฯ (เดลฟายรอบที่ 1) และ 3) แบบสอบถามปลายปิดใช้เก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นด้านสมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์ (เดลฟายรอบที่ 2) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of Variation)


ผลการวิจัยพบว่า ด้านสมรรถนะหลักที่เป็นอยู่ประกอบไปด้วย 5 สมรรถนะหลัก 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ด้านการบริการที่ดี 3) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม พบว่าในภาพรวมบุคลากรมีการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทั้ง 5 ครบทุกประเด็น ในขณะที่สมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์ ในภาพรวมพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักทั้ง 5 ประเด็น อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ 0.12 หมายถึงได้รับฉันทามติระดับสูง ซึ่งสามารถสรุปสมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ช่วงระหว่างปี 2566-2570) ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 5 ด้านและพฤติกรรมบ่งชี้ของบุคลากรซึ่งความสอดคล้องของสมรรถนะหลักทั้ง 5 กับแผนยุทธศาสตร์ฯ ในภาพรวม พบว่าสมรรถนะหลักทั้ง 5 ด้านมีการรองรับเป้าหมายการปฏิบัติงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ประเด็นคือ การเป็นองค์กรยุคดิจิทัลที่มีผลสัมฤทธิ์สูงและบุคลากรมีทักษะที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการทำงานในศตวรรษที่ 21 โดยแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักที่รองรับแผนยุทธศาสตร์ฯ ควรมีการกำหนดเป็นแนวทางพัฒนาเชิงนโยบายและแนวทางเชิงปฏิบัติทั้ง 5 สมรรถนะหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2545). พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก

https://mspc.ocsc.go.th/sites/default/files/2017-04/5.3phrb.prabprungthuengchbabthii1642hnaa.pdf

ไชยดี ยะยือริ. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ประกอบ กุลเกลี้ยง. (2548). การบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน.