การตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัด สุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ เพศ สถานภาพ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง คุณสมบัติของผู้สมัคร นโยบายของผู้สมัคร พรรคการเมืองที่ ส.ส. สังกัด การหาเสียงและประชาสัมพันธ์ และหัวคะแนนของผู้สมัคร และส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และผลประโยชน์หรือผลตอบแทน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กิจบดี ก้องเบญจภุช. (2562). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เชษฐ์ ใจเพชร, ภาวิดา รังษี, และ วินิจ ผาเจริญ. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีการศึกษา 2563. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(2), 29-42.
ไชยวัฒน์ เผือกคง. (2563). ความคิดทางการเมืองไทยและตะวันออก. กรุงเทพฯ: สามตี ออลล์.
ประหยัด หงส์ทองคำ. (2549). การเลือกตั้งกับระบอบประชาธิปไตย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการเมืองการปกครองไทย หน่วยที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีระพงษ์ คงมณี, และ วัลลภ พิริยวรรธนะ. (2565). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของประชากรภายในกรมยุทธโยธาทหารบก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 307-318.
พระอธิการรัตน์ติพงศ์ มหาคมฺภีรวํโส (สมหนุน), ประเสริฐ ปอนถิ่น, และ ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2566) ภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(1), 27-39.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2542). การเลือกตั้งในรัฐเสรีประชาธิปไตย. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 1(3), 95-96.
วัชรากร วาทา. (2562). ปัจจัยที่เป็นเหตุจูงใจในการตัดสินใจไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน ศึกษากรณีการเลือกตั้งซ่อมพื้นที่เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
วินิจ ผาเจริญ. (2565). พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2562). ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2562). ข้อมูลทั่วไปของมุสลิมสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย.
อังครัตน์ เดชวัฒนโยธิน. (2565). เงื่อนไขนำไปสู่การก่อรัฐประหารของไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(3), 335-356.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York, NY: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York, NY: Harper & Row.