ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงกรณีศึกษาสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงของเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กรรณิการ์ วิฑูรย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและความคิดเห็น รวมถึงระดับความสำคัญและความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความพึงพอใจ ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ปัจจัยด้านความจงรักภักดีของลูกค้า และปัจจัยด้านการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ ของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงและครอบครัวของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงที่มีต่อเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ของปัจจัยแต่ละปัจจัยของตัวแปร ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงและครอบครัวของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงที่มีต่อเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิงด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบถดถอยพหูคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 15 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และแบบเฉพาะเจาะจง ตามลำดับ พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา โดยใช้การตีความ เปรียบเทียบ และอธิบายความสัมพันธ์


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความพึงพอใจ และปัจจัยด้านความจงรักภักดีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงของเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ซ้ำ หรือ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือ ยอมรับสมมติฐานที่ 1 สมมติฐานที่ 2 และสมมติฐานที่ 4 ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพบริการ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงของเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ซ้ำ หรือ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำ หรือ ปฏิเสธสมมติฐานที่ 3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ข้อมูลผู้สูงอายุทั่วไป. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/1

จุฑามาศ กันตพลธิติมา. (2560). ภาพลักษณ์และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

ฉันชนก ฉัตรทอง. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและการใช้บริการซ้ำสำหรับการเลือกใช้บริการ Application QueQ ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาการใช้บริการจองคิวล่วงหน้าสำหรับร้านอาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 13-33.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). สืบค้นจาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF

ชยุต รัชตะวรรณ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธัญนันท์ วรเศรษฐพงศ์, วัลลภ อรุณธรรมนาค, วีรยุทธ สวัสดิ์กิจไพโรจน์, ชเนศ รัตนอุบล, และ อาภาพรรณ ปลั่งสิริสุนทร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้ซ้ำของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อวิดีโอออนไลน์. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 3(1), 75-84.

ไพโรจน์ วงศ์วุฒิวัฒน์. (2551). รวมบทความพิเศษ ปี 2551. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพฯ (มหาชน).

ลัดดาวัลย์ อรุณเลิศ. (2565). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้า. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 10(1), 130-143.

วิทมา ธรรมเจริญ. (2555). อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร, กรุงเทพฯ.

สุมามาลย์ ปานคำ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำเครื่องสำอางบนเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 227-285.

Lin, B., Chen, Y., & Zhang., L. (2022). Research on the factors influencing the re-purchase intention on short video platforms: A case of China. PLoS ONE, 17(3), 1-14. Retrieved from https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0265090