การสื่อสารของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการสื่อสารของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย 2) ศึกษากระบวนการสื่อสารของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 35 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการด้านนโยบายยังไม่ชัดเจนต้องการให้สื่อสารเจตจำนงเชื่อมโยงพันธกิจการปฏิรูปประเทศด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) กระบวนการสื่อสาร เน้นภาคีเครือข่ายปฏิบัติการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีการใช้เครือข่ายสื่อสารสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนตื่นตัวเกิดพลังความร่วมมือ 3) กลยุทธ์การสื่อสาร หล่อหลอมแนวคิดรวมพลังด้วยการสื่อสารความเชื่อศรัทธาและรูปธรรมความสำเร็จ สร้างความตระหนักร่วมในพันธกิจเป้าหมายด้วยการคิดร่วม เชื่อร่วม ลงมือร่วม รับผลร่วม และปฏิบัติการแก้ไขร่วม สื่อสารทั้งภายในและภายนอกเครือข่ายและสาธารณะ พัฒนาความรู้และเครื่องมือเข้าถึงการสื่อสารสองทางและแสวงหาความร่วมมือรับผิดชอบสังคมให้เกิดสันติ สร้างและธำรงรักษาเครือข่ายโดยพัฒนาปัจเจกเป็นกลุ่มและเครือข่าย บูรณาการทุกภาคส่วนใช้ประโยชน์วิทยาการสื่อสาร และ 4) แนวทางพัฒนาการสื่อสาร มีนโยบายยกระดับการสื่อสารเครือข่ายเป็นระบบ จัดระเบียบและมีแบบแผนเป็นรูปธรรม เป็นเครื่องมือหลักเชื่อมโยงพันธกิจการปฏิรูปประเทศโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการจัดการความรู้ สร้างองค์ความรู้พัฒนาต่อยอดกระบวนการสื่อสารทุกมิติทุกขั้นตอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2550). ทบทวนหวนคิดและเพ่งพินิจไปข้างหน้า การสื่อสารเพื่อการพัฒนาในสังคมไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 1(1), 1-30.
ขนิษฐา จิตแสง. (2563). การเปิดรับข่าวสารด้านการเมือง การเสริมสร้างทุนทางสังคมออนไลน์และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารทางการเมืองของเยาวชน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 21(1), 86-111.
ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์, ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย, สายชล ปัญญชิต, และ ภูเบศ วณิชชานนท์. (2565). นวัตกรรมทางสังคมกับแนวทางการพัฒนาเครือข่ายสัมมาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 1-14.
ธานี สุวรรณประทีป, วุฒินันท์ กันทะเตียน, และ กณภัทร ไตรพรพัฒนา. (2566). 3 ไตร 3 โอวาทพัฒนาหน่วยอบรบประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.). นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.
นันทิยา หุตานุวัตร, และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). เครือข่ายองค์กรชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 29(1), 16-28.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-118.
พิรงรอง รามสูต, พิมลพรรณ ไชยนันท์, และ วิโรจน์ สุทธิสีมา. (2565). ห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. วารสารสังคมศาสตร์, 52(2), 7-32.
สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2545). วัฒนธรรมชุมชน: เงื่อนไขความเข้มแข็งชุมชน/หมู่บ้าน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8(1), 11-20.
อดิศร คันธรส. (2565). การพัฒนาความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(4), 39-54.
อนุศักดิ์ คงมาลัย. (2563). เอกสารประกอบการเดินทางศึกษาดูงานการขับเคลื่อนระบบชุมชนตำบลเข้มแข็งและการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครอง ผู้บริโภคจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี 9-10 กันยายน 2563 คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา. กรุงเทพฯ: วุฒิสภา.
อรัญญา ศิริผล, ภากร กัทชลี, และ Jiangyu Li. (2564). ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจีนข้ามแดน: ผลกระทบเชิงโอกาสและความท้าทายใหม่ของไทย. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 10(2), 1-14.
Reese, S. D., & Shoemaker, P. J. (2016) A media sociology for the networked public sphere: The hierarchy of influences model. Mass Communication and Society, 19(4), 389-410.