กรอบโครงความคิดของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการทำแท้งปลอดภัย และถูกกฎหมายในประเทศไทย พ.ศ.2550-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์การสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการทำแท้งปลอดภัยและถูกกฎหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2550-2564 โดยการต่อสู้ในเรื่องของ “การทำแท้ง” นอกจากจะเป็นการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ต้องการทำแท้งสามารถเข้าสู่บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมายแล้ว การต่อสู้ในประเด็นนี้ยังเป็นการต่อสู้เชิงความหมายและวาทกรรม ซึ่งแกนนำหรือนักกิจกรรมในขบวนการเคลื่อนไหวมีหน้าที่ประกอบสร้างกรอบโครงความคิด เพื่อเป็นการสร้างชุดความหมายใหม่ของการทำแท้ง ภายใต้ฐานคิดและอุดมการณ์เรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และสิทธิที่จะเลือก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักกิจกรรมขององค์กรเคลื่อนไหว
ผลการวิจัยพบว่า กรอบโครงความคิดแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประเด็นกฎหมาย ประเด็นนโยบาย และประเด็นวัฒนธรรม กรอบโครงความคิดหลัก คือกรอบยุติธรรม แม้ว่าองค์กรเคลื่อนไหวจะมีรูปแบบกิจกรรม สมาชิกในองค์การ และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันแต่ก็เป็นความแตกต่างอย่างสอดประสาน นอกจากนั้นยังมีการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์มาใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อยืนยันความชอบธรรมของกรอบโครงความคิด การผลักดันสิทธิทำแท้งปลอดภัยและถูกกฎหมาย และการสร้างความหมายใหม่ให้กับการทำแท้งมีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหวแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเด็นทำแท้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและความเชื่อที่ผู้คนได้รับการปลูกฝังมาอย่างยาวนาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กนกวรรณ ธราวรรณ. (2545). บันทึกประสบการณ์ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.
กฤตยา อาชวนิจกุล, และ กนกวรรณ ธราวรรณ. (2545). ขบวนการทางสังคม บนมิติการเมืองเรื่องเพศและร่างกายผู้หญิง. ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร (บก.), วิถีชีวิต วิธีสู้ ขบวนการประชาชนร่วมสมัย (น. 48-52). เชียงใหม่: ตรัสวิน.
กุลภา วจนสาระ. (2563). 13 ปีกับ 4 ภารกิจของเครือข่ายท้องไม่พร้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
จักรกฤษณ์ คงแก้ว. (2555). อาชญากรรมที่ไม่มีผู้เสียหาย: ศึกษาเฉพาะความผิดฐานทำให้แท้งลูก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2561). เถียงกันเรื่องแท้ง: สุขภาพ เสรีภาพ ศีลธรรม. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
นภาภรณ์ หะวานนท์. (2541). ปัญหาทางเพศของวัยรุ่นและการทำแท้ง. ใน ศูนย์นโยบายสาธารณสุข (บก.), รื้อสร้างองค์ความคิดผู้หญิงกับสุขภาพ (น. 103-138). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิธิวัชร์ แสงเรือง, วริษฐา หวังบรรจงกุล, และ พุทธพจน์ ตรีเภรี. (2563). ตามรอยการเดินทางเครือข่ายอาสา RSA สืบค้นจาก https://choicesforum.org/wp-content/uploads/2020/12/KM-RSA-EBOOK.pdf
วิภาพร เนติจิรโชติ. (2559). มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมกับการทำแท้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
วิลาสินี พนานครทรัพย์. (2554). การทำแท้ง: มุมมองที่แตกต่าง. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 30(1), 92-116.
ศานต์ฤทัย สาเพิ่มทรัพย์. (2561). การสร้างความหมายของผู้หญิงทำแท้งผ่านภาพตัวแทนในภาพยนต์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักการอนามัยเจริญพันธุ์. (2554). รายงานการเฝ้าระวังการแท้งในประเทศไทย ปี2554. สืบค้นจาก https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/m_magazine/35435/2502/file_download/802d44058927ee6491408fe34a3d506f.pdf
สุชาดา รัชชุกูล. (2540). การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและการทำแท้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
Snow, D. A., & Benford, R. D. (1988). Ideology, frame resonance, and participant mobilization. International social movement research, 1(1), 197-217.