การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้วิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชนที่เกี่ยวกับช่องทางการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ 2) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน และ 4) เพื่อศึกษาหาแนวทาง ที่เหมาะสมในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งแบบบูรณาการเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 82 คน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำชุมชนทั้ง ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชนมีการใช้เทคโนโลยีสนสนเทศระบบสื่อสารเป็นส่วนมาก แต่ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนมากนัก ปัจจัยเข้ามาสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคือ อายุ ระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ค่านิยม ความทันสมัย คุณประโยชน์ต่อการทำงาน และการมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน ส่วนแนวทางที่เหมาะสมนั้นประกอบด้วย 1) ควรสร้างผู้นำชุมชนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยควรออกระเบียบกฎหมายจัดสรรงบประมาณ อบรมสัมมนา 3) สถาบันการศึกษาควรจัดบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ชุมชน 4)ผู้นำชุมชนควรพัฒนาศักยภาพด้วยตนเอง 5) อำเภอควรใช้เวทีประชุมประจำเดือนให้ความรู้เพิ่มทักษะประสบการณ์ 6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นเจ้าภาพหลักพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในชุมชน 7) ทุกหน่วยงานองค์กรภาครัฐควรสนองตอบนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 8) ควรมีการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านกลุ่มผู้นำทุกภาคส่วน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
ชัยพจน์ รักงาม. (2545). จาก IT มาเป็น ICT. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 60-62
ชูชัย สมิทธิไกร. (2538). จิตวิทยาการฝึกอบรมบุคลากร. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พรพิมล รักษาก้านตง. (2550). การรับรู้ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลบนฉลากอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์. (2537). แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2547). การบริหารบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
สมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2541). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2547). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุขุม เฉลยทรัพย์, อาภาภรณ์ อังสาชน, เอกอนงค์ คงประสม, บุญลักษม์ ตํานานจิตร, กาญจนา เผือกคง, ปริศนา มัชฌิมา, ... บรรพต พิจิตรเนิด. (2548). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุปราณี ศรีฉัตรภิมุข. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.