แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการบนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเน้นวิถีถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

วันธะนา สานุสิทธิ์
ชนิกานต์ อัชวนันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเน้นวิถีถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุตรดิตถ์  และนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเน้นวิถีถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ประกอบการ 9 ราย นักท่องเที่ยว 400 ราย 


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเน้นวิถีถิ่นประกอบด้วยสวนป้าเรียนและสวนสุวรรณมะยงชิด อินทผลัมท่องเที่ยวชมสวน ไร่ลุงรังท่องเที่ยวทุ่งนาเกษตรอินทรีย์ พายิ้มฟาร์มท่องเที่ยวในฟาร์ม ลับแลเกสต์เฮ้าส์ท่องเที่ยวชุมชนลับแล บ้านลอยน้ำท่า  น้ำเหนือท่องเที่ยวชุมชนชาวประมง นานาฟิลด์ท่องเที่ยวทุ่งนา ขุนฝางสวนม้าโฮมสเตย์ท่องเที่ยวฟาร์มม้าและเส้นทางธรรมชาติและ Kenny’s house ท่องเที่ยวชุมชนเมืองพิชัยส่วนนักท่องเที่ยวมีความต้องการด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดธรรมชาติชื่นชมธรรมชาติในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.62 ) ความต้องการด้านการบริการสุขภาพโดยเฉพาะด้านการต้อนรับและด้านความพร้อมของผู้ให้บริการและความสะอาดของสถานที่ให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.55) ส่วนความต้องการกิจกรรมสุขภาพพบว่าการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมีความต้องการในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{x} =4.50)


ทั้งนี้การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวมี 3 เส้นทางดังนี้ เส้นทางที่ 1 ประกอบด้วย ไร่ สวน ที่พัก ได้แก่ ไร่ลุงรัง สวนป้าเรียนและลับแลเกสต์เฮ้าส์ท่องเที่ยววิถีถิ่นชุมชนลับแล แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านกระบวนการหลังการใช้บริการ เส้นทางที่ 2 ประกอบด้วย นา ม้า น้ำ ได้แก่ นานาฟิลด์ กาแฟและที่พัก ขุนฝางสวนม้าโฮมสเตย์ บ้านลอยน้ำท่าน้ำเหนือท่องเที่ยววิถีถิ่นชุมชนท่าปลา ซึ่งควรมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบในกระบวนการระหว่างใช้บริการ ส่วนเส้นทางที่ 3 มีคาเฟ่ ฟาร์ม และบ้าน ได้แก่ สวนสุวรรณมะยงชิดและอินทผลัม พายิ้มฟาร์มและKenney House การท่องเที่ยววิถีถิ่นชุมชนพิชัยซึ่งควรมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านกระบวนการก่อนการใช้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). Medic al and Service Tourism แนวโน้มเติบโต ยุค New Normal. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/903875

โชติพงษ์ บุญฤทธิ์. (2560). การพัฒนาเส้นทางจักรยานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลาโดยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารบริการธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14(1), 198-227.

ธเนศ เฮ่ประโคน. (2559). ปัจจัยความสำเร็จโฮมสเตย์พื้นถิ่นในประเทศประชาคมอาเซียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิติพร สุขศรี. (2561). การออกแบบพื้นที่ลอยน้ำสำหรับการท่องเที่ยว กรณีศึกษาเขื่อน รัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

รุ่งทิวา ท่าน้ำ, และ อธิป จันทร์สุริย์. (2563). ศักยภาพการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 304-317.

ราเมศร์ พรหมชาติ. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแสลงพัน ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร.บุรีรัมย์, 6(2), 168-183.

วรรณพร อนันตวงศ์, เก็ตถวา บุญปราการ, และ ปัญญา เทพสิงห์. (2561). วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนคีรีวง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น. 27). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศิริเพ็ญ ดาบเพชร, ธนวัฒน์ ขวัญบุญ, และ อนงค์พร ไศลวรากุล. (2558). การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 จากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 226-246.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์, และ ชีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2561). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 131-144.

สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์. (2562). 10 สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต. สืบค้นจาก https://www2.uttaradit.go.th/travel_top

สุนิษา กลิ่นขจร, และ ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(3), 3228 – 3244.

อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกี้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.