รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลและการสร้างความเชื่อมโยงอุทยานธรณีโลกในระดับนานาชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลและการสร้างความเชื่อมโยงอุทยานธรณีโลกในระดับนานาชาติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกในประเทศต่าง ๆ และ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพและขอจำกัดในการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูล 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับอุทยานธรณีโลกสตูลและสร้างความเชื่อมโยงกับอุทยานธรณีโลกในระดับนานาชาติ โดยทำการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย ซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 117 คน ตลอดจนถอดบทเรียนการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลก ด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกในประเทศต่างๆ ดังนี้ San’in Kaigan UNESCO Global Geopark และ Oki Islands UNESCO การบริหารจัดการขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่ Japan Global Gepoark (JGG) (Head office) สำหรับ Langkawi UNESCO Global Geopark มีอำนาจเบ็ดเสร็จจากภาครัฐควบคุม คือ LADA ในส่วน ศักยภาพและข้อจำกัดในการบริหารจัดการ มิติสังคมและวัฒนธรรมเป็นสังคมพหุ วัฒนธรรมมีความเข้มแข็งและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิติสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเล มิติเศรษฐกิจมีรายได้จากการท่องเที่ยวที่สามารถนำสู่การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ข้อจำกัดการบริหารจัดการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำเป็นต้องขออนุญาตในการทำกิจกรรมนำเที่ยวตามระเบียบว่าด้วยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ โดยเคร่งครัด สำหรับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับอุทยานธรณีโลกสตูล โดยการออกแบบโครงสร้างการบริหารจะต้องครอบคลุมกรอบภาระงานที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมินของ UNESCO โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัดออกเป็น 3 ชุด โดยคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการอำนวยการ 2) คณะกรรมการดำเนินงาน 3) คณะอนุกรรมการ ที่รับผิดขอบโดยตรงในเรื่องต่างๆ ทั้ง 6 ภารกิจที่กำหนดโดยองค์การยูเนสโก พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลมีความเหมาะสม ทิศทางการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลในอนาคตจึงควรมีการจัดตั้งองค์กรกลาง ที่มีรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะองค์กรมหาชน เป็นหน่วยงานอิสระ โดยจัดตั้งผ่านทางกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลมีเครือข่ายภายในประเทศและดำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศตามเกณฑ์กำหนดขององค์การยูเนสโกต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2558). การเสนอเรื่องอุทยานธรณีสตูลเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geopark) เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี. สืบค้นจาก http://www.dmr.go.th
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรัฐ ชวนชม, และ นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร. (2558). แนวทางพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรีโดยการมีส่วนร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ภัทรา แจ้งใจเจริญ. (2558). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา ชุมชนโอหงิมาจิ หมู่บ้านชิราคาว่าโก จังหวัดกิฝุ ประเทศญี่ปุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. สืบค้นจาก http://www.nscr.nesdc.go.th/ns/
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 - 2570. สืบค้นจาก
https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13
อุทยานธรณีโลกสตูล. (2560). การก่อตั้งอุทยานธรณีสตูล. สืบค้นจาก http://www.satun-geopark.com
อัศมา สิมารักษ์. (2551). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม ภายหลังได้รับประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2018). The six features that are fundamental to a UNESCO Global Geopark. สืบค้นจาก https://www.unesco.org/en/iggp/geoparks/about