รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนพึ่งตนเองในการน้อมนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต: กรณีตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วีระชัย ไชยมงคล
มนัส สุวรรณ
รัชพล สัมพุทธานนท์
นครินทร์ พริบไหว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิสังคมเพื่อศึกษาการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนชุมชนเมือง เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนพึ่งตนเองในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการศึกษาบริบทภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิสังคม ได้กำหนดคุณลักษณะมีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 20 ปี จำนวน 130 คน ส่วนการศึกษาการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต เป็นผู้ที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต รวม 390 คน และในส่วนการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนพึ่งตนเอง จำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 28 คน เครื่องมือที่ใช้ ทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหายึดแนวเชิงพรรณนา


 ผลการวิจัยพบว่า


1. บริบทภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิสังคม พบว่า ชุมชนป่าแดดเป็นสังคมเมืองเกิดปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรม การเพิ่มขึ้นของแหล่งอบายมุข และความเสื่อมถอยด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศที่มาจากฝุ่นควันของเครื่องจักรและยานพาหนะ ด้านเศรษฐกิจ ขาดการจัดการในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน


2. ศึกษาการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนชุมชนเมือง ตำบลป่าแดด พบว่า ผู้นำชุนชนมีบทบาทสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีการร่วมกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ และร่วมกันบริหารจัดการปัญหาของชุมชนอย่างยั่งยืน


3. รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนพึ่งตนเองในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนชุมชนเมือง ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การดำเนินการในรูปของ “คณะกรรมการ” หรือ “COMMITTEE” 9 ขั้นตอน นำไปใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนชุมชนเมืองและการบริหารจัดการชุมชนพึ่งตนเองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสมที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนัส สุวรรณ. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วรารัตน์ พันธ์สว่าง, วีระวรรณ ศิริพรสวรรค์, และ เอมอร วิจิตรพงษา. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติขอหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านคลองมะแพลบ หมู่ที่ 9 ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่. (2565). การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก http://www.cdd.go.th

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน. (2565). คู่มือการปฏิบัติงานส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน.

Lamberton, G. (2005). Sustainable Sufficiency: An internally consistent version of sustainability. Sustainable Development, 13(2), 53-58.