ความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

วรชาติ โชครัศมีดาว
ยศ อมรกิจวิกัย

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการที่สัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากผลจากการที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัว โดยผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่ดำรงชีวิตประจำวันอยู่ได้ด้วยแหล่งเกื้อหนุนรายได้ของผู้สูงอายุที่มาจากตัวผู้สูงอายุเองจึงทำให้มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ยังคงทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพตนเอง ในขณะที่การระบาดของโรคโควิด-19 นั้นได้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุในด้านเศรษฐกิจโดยพบว่ามีผู้สูงอายุที่ว่างงานเพิ่มขึ้น การวิจัยเรื่องความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทยในช่วงเวลาระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมและประชากร ปัจจัยด้านสุขภาพ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทยในช่วงระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 38,975 คน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทยโดยใช้แบบจําลองการถดถอย   โลจิสติคทวิ (binary logit model) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ในช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจัยด้านสังคมและประชากร ปัจจัยด้านสุขภาพ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มีผลต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(4), 690-701.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, และ ณัฐณิชา ลอยฟ้า. (2562). การศึกษาการโอนทางเศรษฐกิจข้ามรุ่นประชากรภายใต้บริบทการสูงวัยทางประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2557). แรงงานผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2014/01/srawooth-labour/

Anlaya, S., & Kosol, S.(2011). Economic security among the Thai elderly in 2002 and 2007: changes and determinants. Sri Lanka Journal of Population Studies, 12(13), 101-114.

Jayawardhana, T., Anuththara, S., Nimnadi, T., Karadanaarachchi, R., Jayathilaka, R., & Galappaththi, K. (2023). Asian ageing: The relationship between the elderly population and economic growth in the Asian context. PLoS One, 18(4). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0284895

Katekaew, S., Nop, R., & Paul, R. (2019). Predictors of Quality of Life of the Rural Older Adults in Northern Thailand. Journal of Health Research, 33(6), 450-459. https://doi.org/10.1108/JHR-11-2018-0142.

Phulkerd S, Thapsuwan S, Soottipong Gray R, Chamratrithirong A, Pattaravanich U, Ungchusak C., & Saonuam P. (2023). Life Satisfaction before and During Covid-19 Pandemic In Thailand. International Journal of Public Health, 68, 1-10. https://doi.org/10.3389/ijph.2023.1605483

Pit, S., Fisk, M., Freihaut, W., Akintunde, F., Aloko, B., Berge, B., . . . Yap, J. C. H. (2021). COVID-19 and the ageing workforce: global perspectives on needs and solutions across 15 countries. International Journal for Equity in Health, 20(1), (221). https://doi.org/10.1186/s12939-021-01552-w

Sarmah, C., & Das, B. (2017). Socio-Economic Condition and Social Support Among the Ageing Tiwas of Assam. In S. Irudaya Rajan & G. Balagopal (Eds.), Elderly Care in India: Societal and State Responses (pp. 117-131). Springer Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-10-3439-8_7

Smuseneeto, A., & Soonthorndhada, K. (2011). The Impact of Health Factors on Financial Security among the Thai Elderly: in 2002 and 2007. Journal of Health Research, 25(1), 11-14. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/80033

Suwanrada, W. (2009). Poverty and Financial Security of the Elderly in Thailand. Ageing International, 33(1), 50-61. Retrieved from https://doi.org/ 10.1007/s12126-009-9030-y