แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษา บุรีรัมย์โมเดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้บุรีรัมย์โมเดลในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ศึกษาสภาพปัจจุบันและผลกระทบต่อการพัฒนาจังหวัด และศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและแนวทางการขยายผลบุรีรัมย์โมเดลในพื้นที่อื่น ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีตัวแทนผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 20 ท่าน
ผลการศึกษา พบว่า พัฒนาการการนำกีฬาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการใช้บุรีรัมย์โมเดล สามารถแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ การริเริ่มการเปลี่ยนแปลง การผลักดันให้เกิดความร่วมมือ และการประสบความสำเร็จในระดับสากล ส่งผลให้เกิดการพัฒนาจังหวัดและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคมในพื้นที่ การจัดกิจกรรมงานอีเว้นท์ให้โดดเด่น สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคที่ปลอดภัย การสร้างจุดแลนด์มาร์กและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว: กายภาพการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของไทย. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=581
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). โครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจกีฬาของประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2562- 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 6 (ตุลาคม-ธันวาคม). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20170105115652.pdf
ภคนันท์ วระพินิจ, และ กอบกูล จันทรโคลิกา. (2663). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทย. วารสารวิชาการเซาธ์อีสห์บางกอก (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 32-44.
สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2560). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2557- 2560). สืบค้นจาก http://www.buriram.go.th/web3/index.php/province-development/plan-development
สุวิญชา รักหาญ, กนกกานต์ แก้วนุช, และ เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2566). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 64-81.
อัมรินทร์ สุขเกษม. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสรฟุตบอลอาชีพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
Bull, C. J., & Weed, M. E. (1999). Niche markets and Small Island Tourism: The Development of Sports Tourism in Malta. Managing Leisure, 4(3), 142-155.
Hall, C. M. (1992). Hallmark Tourist Events: Impacts, Management and Planning. London: Belhaven Press.
Maier, J., & Weber, W. (1993). Sport tourism in local and regional planning. Tourism Recreation Research, 18(2), 33-43.
Pestoff, V. (2010). New Public Governance, Co-production & Third Sector Social Services. Sweden: Institute of Civil Society Studies, Ersta Skondal University Collage.