ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง

Main Article Content

วิสุทธิณี ธานีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มารับบริการสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง จำนวน 400 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.836 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) สำหรับค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation =4.69, S.D.=0.111) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของการให้บริการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (equation =4.76, S.D.=0.221) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2) ผลของการเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ศาสนา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอำเภอที่อยู่อาศัยต่างกัน มีความเห็นไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอายุ และประสบการณ์การมารับบริการในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ภมร, และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2566). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคุมประพฤติด้านการสืบเสาะและพินิจประจำสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(1), 89-103.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 13-24.

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2564. (2564, 20 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษที่ 108 ง, หน้า 9.

ปิยะวรรณ บรรพชาติ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

พัณณิดา เรืองฤทธิ์. (2563). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2563). ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย ในมุมมองแต่ละ Gen. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/07/thailands-life-satisfaction-and-happiness/

ศวีระ โภคเนืองนอง. (2566). การบริการสาธารณะแนวใหม่ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางกรณีศึกษาสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

ศศิประภา ทารพันธ์, และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2566). ประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(1), 75-88.

สุกัญญา วาวงศ์มูล. (2562). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2566ก). ข้อมูลจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (เฉพาะกลุ่มที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์) ปี พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก https://alro.go.th/th/trang/category/article-category-91-25?cid=10413

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2566ข). วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้นจาก https://alro.go.th/th/alro

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). ระบบราชการ 4.0. สืบค้นจาก https://www.opdc.go.th/content/Mzk

สำนักงานจังหวัดตรัง. (2566). เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดตรัง 20 ปี พ.ศ. 2566-2585. สืบค้นจาก https://ww2.trang.go.th/files/com_news_devpro/2023-08_64b92c55f8f8e55.pdf

สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง. (2564). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก https://alro.go.th/th/trang/news-activity/page-13688/ประวัติความเป็นมา?id=148145

สำนักงานสถิติจังหวัดตรัง. (2565). รายงานสถิติปี 65. สืบค้นจาก https://trang.nso.go.th/reports-publications/provincial-statistics-report/provincial-statistics-report-year-2022.html

Jaisingh, A. (2018). A qualitative study on the impact of a good remuneration package to public servants on the enhancement of the delivery of public services. Texila International Journal of Management, 4(1), 1-14.

Khatab, J. J., Esmaeel, E. S., & Othman, B. (2019). The influence of service quality on customer satisfaction: Evidence from public sector and private sector banks in kurdistan/Iraq. International Journal of Advanced Science and Technology, 28(20), 865-872.

Lapuente, V., & Van de Walle, S. (2020). The effects of new public management on the quality of public services. Governance, 33(3), 461–475.

Lazaros, A., & Christos, C. (2019). Evaluating citizens' actual perceptions and expectations and assessing e-Service Quality Gap in Public Sector related to e-Government Services. International Journal of Entrepreneurship and Innovative Competitiveness, 1(1), 1-19.

Miller, R. K., & Washington, K. (2008). Generational focus. The 2009 Entertainment, media & advertising market research handbook. Richard K. Miller & Associates, 2008.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York, NY: Harper & Row.