พัฒนาการทางความคิดของรัฐไทยที่มีต่อบุคคลออทิสติกสะท้อนผ่านกฎหมาย ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคลออทิสติกในประเทศไทยระหว่างปีพ.ศ. 2503-2560 รวมทั้งวิเคราะห์พัฒนาการทางความคิดที่รัฐไทยมีต่อบุคคลออทิสติกในช่วงเวลาดังกล่าวผ่านแนวคิดผู้มีสถานะรองและการจัดวางความคิดทางการเมือง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแนวทางการวิจัยเอกสาร ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างคำอธิบายในรูปแบบของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ข้อมูลหลักของการวิจัย คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้พิการ
ผลการศึกษา พบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบุคคลออทิสติก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ พัฒนาการทางความคิดของรัฐไทยที่มีต่อบุคคลออทิสติกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ยุคเริ่มต้น (พ.ศ. 2503-2539) ยุครุ่งเรือง (พ.ศ. 2540-2550) และยุคแห่งการต่อสู้ (พ.ศ. 2551-2560) งานศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของคนออทิสติกรวมถึงคนพิการประเภทอื่นยังคงมีปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากรัฐและผู้มีอำนาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างและความหลากหลายของภาวะออทิซึม ประกอบการจัดวางความหมายของออทิซึมเชื่อมโยงกับปัญญาอ่อนส่งผลให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลออทิสติกถูกกดทับและกลายเป็นกลุ่มผู้มีสถานะรองในสังคม ดังนั้น รัฐและผู้มีอำนาจจะต้องทำความเข้าใจต่อสภาวะออทิซึมอย่างถูกต้อง แก้ไขกฎหมายและนโยบายเพื่อรองรับการใช้สิทธิอย่างรอบด้าน รวมทั้งประกอบสร้างความหมายใหม่ที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับบุคคลออทิสติก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กนกเลขา สิงห์เสนห์, อีวอน เเย็ป, ทาสึยูกิ ไอดะ, เอริโกะ ไอดะ, และ มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช. (2559). WE ME มีฉัน มีเรา เพราะชีวิตเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2561). สถานการณ์คนพิการ 30 กันยายน 2561. สืบค้นจาก https://dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation/สถานการณ์คนพิการ-30-กันยายน-2561-1592
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2566). สถานการณ์คนพิการ 30 กันยายน 2566. สืบค้นจาก https://dep.go.th/images/uploads/files/PWD-situationSep66.pdf
กุลภา วจนสาระ. (2555). มองหาความเป็นธรรมในสังคมไทยผ่านคนชายขอบ. ใน กุลภา วจนสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล (บก.), ประชากรและสังคม 2555 ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย (น. 17-36). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ถนอมนวล หิรัญเทพ. (2551). วาทกรรมความพิการในเรื่องเล่าสมัยใหม่ของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วัชรพล พุทธรักษา. (2561). อันโตนิโอ กรัมชี่ กับการจัดวางความคิดทางการเมือง: ปรัชญาปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการปลดปล่อยมนุษย์. กรุงเทพฯ: สมมุติ.
สิงห์ สุวรรณกิจ. (2558). งานศึกษาผู้อยู่ในสถานะรอง: ทบทวนประวัติศาสตร์นิพนธ์และมวลชนผู้เคลื่อนไหว. วารสารสังคมศาสตร์, 27(1), 149-186.
สุรศักดิ์ ไกรศร, ธัญลักษณ์ ฐิติวัชร์ธนากุล, ชุตินันท์ พุ่มไม้, อัญญารัตน์ ปัจฉิมเพชร และบัณพร มีศร. (2563). ความเป็นไปได้ต่อการมีนักสังคมสงเคราะห์ในโรงเรียนของสังคมไทย. ใน ภุชงค์ เสนานุช (บก.), สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: การปลดล็อคความเหลื่อมล้ำสู่ความยั่งยืน (น. 145-157). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Lord, C., Elsabbagh, M., Baird, G., & Veenstra-Vanderweele, J. (2018). Autism spectrum disorder. The lancet, 392, 508-520. doi: 10.1016/S0140-6736(18)31129-2
Maenner, M. J., Warren, Z., Williams, A. R., Amoakohene, E., Bakian, A.V., Bilder, D. A., . . . Shaw, K. A. (2023). Prevalence and characteristics of autism spectrum disorder among children aged 8years-Autism and Developmental Disabilities Monitoring Network, 11 sites, United States, 2020. MMWR. Surveillance Summaries, 72(2), 1-14.
Mazumder, R., & Thompson-Hodgetts, S. (2019). Stigmatization of children and adolescents with autism spectrum disorders and their families: A scoping study. Review Journal of Autism and Developmental Disorders, 6, 96-107.
Milačić-Vidojević, I., Gligorović, M., & Dragojević, N. (2014). Tendency towards stigmatization of families of a person with autistic spectrum disorders. International Journal of Social Psychiatry, 60(1), 63-70.