กลยุทธ์การจัดการคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของชุมชนนำร่อง ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

Main Article Content

วิลาสินีย์ จันทร์สว่าง
ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ
วิศาล ศรีมหาวโร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่และปัญหาการจัดการคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของชุมชนนำร่อง และ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของชุมชนนำร่องในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ประชากรได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวม 44 คน เครื่องมือวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และการวิเคราะห์แบบไขว้ (TOWS Matrix)


ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ด้านกายภาพเป็นที่ราบริมแม่น้ำเหมาะแก่การเพาะปลูก ภูมิอากาศมีเพียงฤดูร้อนและฤดูฝน มีประชากรประมาณ 33,157 คน มีถนนสำคัญ คือ ทางหลวงหมายเลข 4 อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม มีรังนกนางแอ่นเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ด้านปัญหาการจัดการคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุข พบว่า การระบาดของโควิด 19 มีผลกระทบต่อการพัฒนา ขาดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเบิกจ่ายเงินกองทุนต่างๆ ขาดประสิทธิภาพ การประเมินงานเน้นด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ บางข้อปฏิบัติไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และขาดความจริงจังในการบังคับใช้ จากบริบทและปัญหาที่พบ นำไปสู่การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเลือกดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ การพัฒนาทีมดูแลสุขภาพเชิงบูรณาการ การสนับสนุนโรงเรียนผู้สูงอายุ การพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุข การพัฒนาตลาดชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน กลยุทธ์แก้ไข ได้แก่ การจัดระบบขนส่งสาธารณะ การจัดการพื้นที่ตลาดชุมชน การพัฒนาทักษะการผลิตสินค้าชุมชน การสร้างความเข้าใจสิทธิความเป็นพลเมือง และการจัดทำทะเบียนประชากรแฝง กลยุทธ์ป้องกัน ได้แก่ ให้ความรู้เรื่องการพัฒนาชุมชนแบบจัดการตนเองภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดให้มีสวัสดิการชุมชนอย่างทั่วถึง และการพัฒนาเครือข่ายชุมชน กลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและจัดหาเครื่องมือขั้นปฐมทางการแพทย์ การจัดสวัสดิการแก่คณะกรรมการชุมชน การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และการเชิดชูเกียรติแก่ปราชญ์ชุมชน      

Article Details

How to Cite
จันทร์สว่าง ว., ทิพย์ญาณ ช., & ศรีมหาวโร ว. (2025). กลยุทธ์การจัดการคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของชุมชนนำร่อง ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 53–66. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270446
บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี ศรีใจ. (2564). แนวคิดการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 9(1), 31-40.

จารุณี พันธุ์เสงี่ยม. (2550). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิกชุมชนร่วมจิตร่วมในจังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

ชมพูนุช สุภาพวานิช, ไพสิฐ จิรรัตนโสภา, เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล, และ บุญแทน กิ่งสายหยุด. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมองผู้บริหารของเขตสุขภาพ 1 – 12. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 5(3), 138-153.

ธันย์ชนก หมื่นใจสร้อย, และ วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ. (2565). การเข้าถึงในการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(2), 43-53.

มรรษพี เจริญทรัพย์. (2556). การบูรณาการกองทุน การเงินเพื่อการจัดการตนเองของชุมชน กรณีศึกษาสถาบันการเงินกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านบุกลาง ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2544). การประเมินความต้องการของเด็กแห่งชาติ กรณีศึกษา เด็กพม่าในจังหวัดระนอง. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล มีแสง. (2554). กระบวนการจัดการตนเองในการฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติด้วยการสร้างชุมชนใหม่: กรณีศึกษา บ้านม่อนบ่อเฮาะ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

อรรฆพร ก๊กค้างพลู. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 226-244