การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทำการวิจัยในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) หลักอปริหานิยธรรมมีความสัมพันธ์กับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ในเชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก 3) การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่นควรเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทุกครั้ง และให้ความสำคัญด้วยการเข้าร่วมประชุมตั้งแต่ต้นจนจบ สนับสนุนนโยบายของเทศบาลที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน เคารพต่อนโยบายของเทศบาล และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตามนโยบายและร่วมทำงานกับสตรีได้ สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความความเรียบร้อยของสถานที่จัดการขยะภายในชุมชน ดูแลด้านสวัสดิการแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2560). พุทธภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์, และ ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เทศบาลตำบลไหล่หิน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570. ลำปาง: งานนโยบาย และแผน เทศบาลตำบลไหล่หิน.
นวลฉวี คำฟั่น. (2564). นโยบายทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมสวัสดิการชุมชนของประชาชนอำเภอสอง จังหวัดแพร่ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, แพร่.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สระแก้ว.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นนทบุรี.