การบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 3) เพื่อเสนอรูปแบบในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ได้แก่ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดถึงประชาชนในพื้นที่ บ้านใหม่ล้านนา หมู่ที่ 14 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ การรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดเวทีประชาคม โดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนสภาองค์กรชุมชน องค์กรในพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความ ประกอบภาพถ่าย บรรยายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของหมู่บ้านใหม่ล้านนา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มี 3 ประการ ดังนี้ 1.1) ปัญหาชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ 1.2) การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ชาวบ้านร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา 1.3) แนวทางแก้ไข กรมป่าไม้จัดพื้นที่โครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเป็นพื้นที่รองรับให้แก่ชาวบ้านทำกินและดูแลรักษา 2) แนวทางการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พบว่ามี 8 แนวทาง ดังนี้ 2.1) การประชุมประชามติ 2.2) การสำรวจข้อมูลแปลงที่ดินใหม่ 2.3) การออกแบบบ้านพักอาศัยโดยชาวบ้าน 2.4) การประสานความร่วมมือการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ 2.5) การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย 2.6) การจัดการด้านสาธารณูปโภค 2.7) การจัดการด้านสิทธิในที่ดิน 2.8) การจัดการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) รูปแบบในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน พบว่ามี 3 รูปแบบ ดังนี้ 3.1) รูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วม 3.2) รูปแบบการจัดการโดยชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการและ 3.3) รูปแบบการจัดการโดยภาครัฐ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเทศบาล เทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์: กรณีศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลนางั่ว (รายงานวิจัย). เพชรบูรณ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพชรบูรณ์.
เขมจิรา มีสุวรรณ, ชมพูนุท ป้อมป้องศึก, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, ธานี ฉัตรนภารัตน์, ดำรงเดช รัตนโชติชัยสกุล, ภวิษย์กันฐพร มงคลชาติ,...ฐิติ ลาภอนันต์. (2560). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งสิทธิการครอบครองที่ดิน: กรณีศึกษาชุมชนวัดคุณหญิงส้มจีน อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
จิตตานันท์ ติกุล, ดารณี คำสวัสดิ์, จุไรรัตน์ พุ่มโพธิสุวรรณ, และ อนุรักษ์ เผยกลาง. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานวิจัย). นครราชสีมา: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, และ เจด็จ คชฤทธิ์ (2560). การจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน: กรณีศึกษา ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 229-311.
ธนกฤต ลาภธนโรจน. (2562). การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). การจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธนาศิลป์ เสี้ยวทอง. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องที่ระดับหมู่บ้าน: กรณีศึกษา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
นรินทร์ ประทวนชัย. (2543). การจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านโป่งผา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นุกูล โปรยเงิน. (2550). การจัดการพื้นที่สาธารณะโดยชุมชนบริเวณลาน้ำแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พชรพล หาญเมือง. (2563). การสร้างความร่วมมือในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์: กรณีศึกษา โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วรินทร นาสมใจ. (2556). แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะป่าโคกหนองข่า อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
วิวัฒน์ ฤทธิมา, วิลาสินี ธนพิทักษ์, และ อานุช ศีรีรัฐนิคม. (2564). การบริหารจัดการที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืนพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัดในเขตจังหวัดพัทลุง. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, 15(1), 29-21.
สมชัย แก้วทอง. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในชุมชนอันเนื่องมาจากโครงการอพยพชาวเขา: กรณีศึกษาบ้านวังใหม่ อำเภอวังเหนือจังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สรรเสริญ ทองสมนึก. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านทรายทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สำนักจัดการที่ดินของรัฐ กองฝึกอบรม. (2563). แนวทางการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน: ที่สาธารณประโยชน์. กรุงเทพฯ: กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.
สุจารีย์ วิชัยดิษฐ์. (2565). การจัดการความขัดแย้งในการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ทุ่งเลี้ยงสัตว์หนองพลับ ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 2(1), 240-259.
อารีวรรณ คูสันเทียะ. (2557). ภาวะหนี้สินกับการสญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) จังหวัดอ่างทอง (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
อารุณ วงศรีแก้ว, ประเสริฐ ตัณศิริ, สุจิต จงประเสริฐ, และ วัลลภ นาคบัว. (2563). การจำกัดสิทธิการถือครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน: ศึกษาขอบเขตและมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(3), 758-772.