การศึกษาคำเรียกผู้หญิงในเพลงเพื่อชีวิต : กรณีศึกษาวงคาราบาว

Main Article Content

ปิยะพันธุ์ วัชระนุกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาคำเรียกผู้หญิงในเพลงเพื่อชีวิต กรณีศึกษาวงคาราบาว  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายของคำเรียกผู้หญิง และวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำเรียกผู้หญิงที่ปรากฏในเพลงเพื่อชีวิตของวงคาราบาว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ คำเรียกผู้หญิงทั้งหมด 23 คำ ที่คัดเลือกจากอัลบั้มชุดที่ 1 ถึงชุดที่ 8 ที่วางจำหน่ายในปี พ.ศ.2524 ถึง พ.ศ.2530 จำนวน 80 เพลง สรุปผลการศึกษาดังนี้ ผลการศึกษาด้านความหมายของคำเรียกผู้หญิง  พบคำเรียกผู้หญิงที่มีความหมายตรงคิดเป็นร้อยละ  52.17  และคำเรียกผู้หญิงที่มีความหมายแฝงคิดเป็นร้อยละ 47.83  คำที่ใช้ในการเรียกผู้หญิงคนอื่น ๆ พบมากที่สุดคือร้อยละ 43.48 นอกจากนี้ยังพบว่าคำเรียกผู้หญิงที่มีความหมายตรง เป็นที่รัก  และคำเรียกผู้หญิงผู้มีค่า  คิดเป็นร้อยละ 4.35  ผลการศึกษาด้านกลวิธีการสร้างคำเรียกผู้หญิงในเพลงเพื่อชีวิต  พบกลวิธีการสร้างคำเรียกผู้หญิงโดยวิธีประสมคำมากที่สุด  โดยพบลักษณะคำไทยประสมคำไทยมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 34.78  รองลงมาคือกลวิธีการสร้างคำเรียกผู้หญิงโดยใช้คำมูล  โดยพบคำมูลที่เป็นคำไทยมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 21.73  ส่วนกลวิธีการสร้างคำเรียกผู้หญิงที่พบน้อยที่สุดคือ  กลวิธีการสร้างคำเรียกผู้หญิงโดยวิธีซ้ำคำ  คิดเป็นร้อยละ 4.35


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีบุญธรรม. (2557). การศึกษาคำเรียกผู้หญิงในเพลงลูกทุ่งของ สุรพล สมบัติเจริญ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

กำชัย ทองหล่อ. (2550). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ฉัตรา บุนนาค, สุวรรณี อุดมผล และวรรณี พุทธเจริญทอง. (2522). ศิลปะการใช้ภาษาไทยใน ชีวิตประจำวันและธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

นววรรณ พันธุเมธา. (2553). ไวยากรณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริศนา พิมดี. (2547). คำเรียกผู้หญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เปลื้อง ณ นคร. (2544). พจนะภาษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

วรัตน์ อินทสระ. (2551). วิเคราะห์การออกแบบปกเทปและซีดีของวงดนตรีคาราบาว. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2531). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมหญิง เมืองแมน. (2537). คุณค่าทางวรรณศิลป์ในบทเพลงของพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2545). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.