ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2  ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางหลวงเหนือ ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 53 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient   ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับต่ำ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.275, p-value = 0.047) และปัจจัยความเชื่อในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับปานกลางกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.410, p-value = 0.002) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.494, p-value ≤ 0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับปานกลางกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.389, p-value = 0.004) การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับต่ำ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย (r = - 0.308, p-value = 0.025) ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับปานกลางกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.358, p-value = 0.008)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. กันยายน-ธันวาคม 2557, 15(3): 256-268

จุฬาภรณ์ โสตะ (2552). แนวคิด ทฤษฎี และกลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ.(บรรณาธิการ) (2556). ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน. ม.ป.ท.: เฮลธ์ เวิร์ค.

พรศรี ศรีอัษฎาพร. (2553). หลักการและแนวปฏิบัติการให้ความรู้เบาหวาน ในสมเกียรติ โพธิสัตย์ (บรรณาธิการ). การให้ความรู้เพื่อจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง. (หน้า 3 – 18). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ศรัณยา เพิ่มศิลป์ (2554). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.). ต.ค. - ธ.ค. 2554, 11 (4): 89-100.

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน (2553). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

สำนักงานเขตบริการสุขภาพที่ 8. (2557). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพ เขตบริการสุขภาพที่ 8.

อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์และคณะ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. มกราคม – เมษายน 2555, 18(1): 58-69.

Becker, M.H. (1975). The health model and sick role behavior. The health belief model and personal health behavior. New Jersey: Charles, B. Slack.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Elifson, K. W. (1990). Fundamental of social statistics International Edition. Singapore. Mc Graw-Hill.

Siamak Mohebi, Mahmoud Parham, Gholamreza Sharifirad, Zabihollah Gharlipour, Abolfazl Mohammadbeigi, Fatemeh Rajati.(2018). Relationship between perceived social support and self‑care behavior in type 2 diabetics: A cross -sectional study. Journal of Education and Health Promotion.7(April): 1-6.

Zahirah Tharek, Anis Safura Ramli, David Leonard Whitford, Zaliha Ismail, Maryam Mohd Zulkifli,Siti Khuzaimah Ahmad Sharoni. et al. (2018). Relationship between self-efficacy, self-care behaviour and glycaemic control among patients with type 2 diabetes mellitus in the Malaysian primary care setting. BMC Family Practice. Past and Present(March) : 1-10.